การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของซอฟแวร์แบบวัดความสามารถเชิงพุทธิปัญญาในมิติเวลาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ศานิตย์ ศรีคุณ

บทคัดย่อ

เครื่องมือวัดความสามารถเชิงพุทธิปัญญาที่มีความตรงเชิงโครงสร้างจะสามารถวัดความสามารถเชิงพุทธิปัญญาได้ตรงทฤษฎี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของซอฟแวร์แบบวัดความสามารถเชิงพุทธิปัญญาในมิติเวลา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,504 คน และซอฟแวร์แบบวัดความสามารถเชิงพุทธิปัญญาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้มีทั้งหมดจำนวน 8 แบบวัด เพื่อวัดความตั้งใจและความจำขณะทำงาน ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ซอฟแวร์แบบวัดความสามารถเชิงพุทธิปัญญามีความตรงเชิงโครงสร้างในมิติเวลา และดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลมีค่าตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ กล่าวคือ 1) ไคสแควร์ (χ2) เท่ากับ 18.811 โดยมีค่าองศาแห่งความเป็นอิสระ (df) เท่ากับ 11 และค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.065 2) อัตราส่วนค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) มีค่าเท่ากับ 1.710 3) ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.997 4) ดัชนี Tucker-Lewis coefficient (TLI) เท่ากับ 0.993 5) ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน (RMSEA) เท่ากับ 0.022 และ 6) ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.016

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apape, M. M., Verdonschot, G. R., Dantzig, V. S. & Steenbergen, V. H. (2014). The E-Primer: An introduction to creating psychological experiments in E-Prime. Netherlands: Leiden University Press.

Baddeley, A. (2018). Exploring Working Memory. New York: Routledge.

Bunterm, T., Ketchatturat, J., Samranjai, J., Methaneethorn, J., Wattanathorn, J., Muchimapura, S., Wannanont, C., Uopsai, S., Srikoon, S. & Veerachairatthana, S. (2014). Developing the software program to measure attention and working memory: Thai version. Khon Kaen: Khon Kaen University. [in Thai]

Buss, A. T. & Kerr-German, A. (2019). Dimensional attention as a mechanism of executive function: Integrating flexibility, selectivity, and stability. Cognition, 192(1), 1-16.

Johnson, R. & Wichern, D. (2014). Applied Multivariate Statistical Analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Kastner, L. (2017). Philosophy of Cognitive Neuroscience. Germany: CPI Book Gmbh, Leck.

Kline, R. B. (2016). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (4th ed.). New York: Guilford Publications.

Ministry of Education Thailand. (2017). Policy fiscal year 2017 Office of the Basic Education Commission. Bangkok: Basic Education Commission. [in Thai]

Muthen, K. L. & Muthen, O. B. (2017). Mplus statistical analysis with latent variables User Guided (8th ed.). Los Anges: CA.

Srikoon, S. (2019a). Construct validity of cognitive ability test software in the accuracy dimension. Journal of Education Khon Kaen University, 42(4), 103-117. [in Thai]

Srikoon, S. (2019b). Multiple Group Structural Equation Model Analysis of Student’s Learning Processes based on Educational Neuroscience on Mathematics Learning Outcomes. Master’s thesis, Mahasarakham University. [in Thai]

Srikoon, S., Viriyapong, N. & Chutiman, N. (2018). Examining Construct Validity and Measurement Invariance of Mood across Gender and Grade. Journal of Education Khon Kaen University, 41(1), 17-38. [in Thai]

Srikoon, S., Bunterm, T., Nethanomsak, T. & Ngang, T. K. (2017). A Comparative Study of the Effects of the Neurocognitive-based Model and the Conventional Model on Learner Attention, Working Memory and Mood. Malaysian Journal of Learning and Instruction, 14(1), 83-110.