การจัดการเชิงกลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) วิเคราะห์ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ที่ส่งผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มี 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.1 ปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค 1.2 สร้างและประสานเครือข่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอในภูมิภาคอื่น 1.3 การทำความเข้าใจผู้บริโภค 1.4 ปรับเปลี่ยนและพัฒนาการดำเนินการทางการตลาด 1.5 การจดทะเบียนสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ผ้าทอ 2) ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่ส่งผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ 2.1 ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็งคือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาผลิตด้วยมือเป็นหลัก และจุดอ่อนคือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไม่มีความหลากหลายไม่ค่อยได้รับความนิยมจากวัยรุ่น 2.2 ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสคือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอสามารถต่อยอดดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์อื่น และอุปสรรคคือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมีคู่แข่งขันได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มคนเท่านั้น
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Banon, M. (2013). Strategic management and innovation that affect the competitiveness of SMEs.Lampang: Faculty of management science, LampangRajabhat University. [in Thai]
Charoenying, K. & Kidsom, A. (2013). The 5 Forces Model and Competitive Advantages Analysis for Expanding into Republice of India: A study of Container Liner Company, Ltd. Journal of Business Administration , 10(1), 1-21. [in Thai]
Chaimuang, N. & Kanboonruang, Ch. (2018). Strategic Management of Social Enterprise to Thailand 4.0. The Journal of Payap, 28(1), 1-18. [in Thai]
Chomphulong, N. (2005). Local knowledge to learning. Mahasarakham: Aphichat Press. [in Thai]
Dararuang, K. (2019). Development of product and market strategy for Ban Kao Lame community enterprise, Nakhonsawan province. Suthiparithat journal, 13(100), 130-143. [inThai]
Department of Community Development. (2008). The history of One Tambon One Product. Retrieved December 19, 2019, from http://www.otop5star.com/about-th.php [in Thai]
Karavekphan, B. (2018). Economic, Political, and Administrative Courses. Master of Public Administration, Ramkhamhaeng university. [in Thai]
Kosakul, V. (2019). Strategic management academic procedures. Master of Public Administration, Ramkhamhaeng university. [in Thai]
Lincharearn, A. (2012). Qualitative Data Analysis Techniques. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 17(1), 17-29. [in Thai]
Pichayapongsa, C. (2015). Business Plan for Supplement One Click So Chic. Independent Study Master of Business Administration (Small and Medium-Sized Enterprises), Graduated School, Bangkok University. [in Thai]
Parinyasutinun, U. (2015). SWOT Analysis: Spotlight to Strategic Management and the community Can Do It. Journal of Suranaree University of Technology, 10(2), 137-157. [in Thai]
Pholphirul, P. (2013). Creative Economy and Development Issuesin Thailand. The Journal of NIDA Economic Parithat, 7(1), 1-17. [in Thai]
Thabit, H. & Manaf, B. R. (2018). The Evaluation of Marketing Mix Elements: A Case Study. International Journal of Social Sciences & Educational Studies, 4(4), 100-109.
Tiger. (2019). 4P Marketing Mix. Retrieved December 19, 2019, from https://thaiwinner.com/4p-mar
keting-mix/ [in Thai]