แรงจูงใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา

Main Article Content

อุทัยรัตน์ สรแพทย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงเรื่องแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาและเป็นการแนะนำอาจารย์สอนภาษาอังกฤษว่าจะสามารถจูงใจให้นักศึกษาของตนเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างไร นอกจากนั้น ยังเป็นการถกเถียงกันในเรื่องแรงจูงใจของนักศึกษา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องมีข้อมูลไม่เพียงแต่ทฤษฎีแรงจูงใจแต่ยังต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนภาษาอีกด้วย ดังนั้นทฤษฎีที่วิภาคกันในบทความนี้ จึงเป็นข้อมูลวิธีการสอนภาษาอังกฤษของผู้เขียนจากการสอนนักศึกษาที่หลากหลายจากหลายมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย แม้ว่าแรงจูงใจและทฤษฎีการเรียนภาษาอังกฤษจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา แต่ผู้เขียนได้ค้นพบว่า ทฤษฎีเหล่านี้ไม่ได้นำมาใช้งานได้ทุกเวลาหรือทุกสถานการณ์หรือแม้แต่กับนักศึกษาทุกคน และก็มิได้เป็นผลเชิงบวกในการใช้ทฤษฎีเหล่านั้นในเวลาที่พร้อมกัน ดังนั้นการใช้ทฤษฎีเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะและการตัดสินใจในการเลือกใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของความเป็นปัจเจกของอาจารย์ผู้สอนด้วย ดังนั้นบทความนี้ ผู้เขียนจึงแนะนำแนวทางที่ผู้เขียนได้ประยุกต์ทฤษฎีเหล่านี้จากสถานการณ์ในห้องเรียนและนำเสนอแนวทางการสอนด้วยการเรียนรู้จากงานที่ได้มอบหมายเพื่อกระตุ้นแรงจูงใจภายในและภายนอกของนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Brown, H. D. (2006). Principles of language learning and teaching. New York. Addison Wesley Longman.

Inthapat, C. (2011). Language Used in 7-Eleven Convenient Store and Using Communicative Approach for Students at Panyapiwat Institute of Management. Panyapiwat Journal, 2(2), 28–41.

Inthapat, C. (2016). Motivation Theory, Communicative Language Teaching (CLT) and English as a Global Language Applying With Task and Project Assigned Concerning with Some Occupations in ASEAN Economic Community (AEC). Panyapiwat Journal, 8(Special), 310–317.

Kafipour, R., Mahmoudi, E. & Khojasteh, L. (2018). The effect of task-based language teaching

on analytic writing in EFL classrooms. Cogent Education, (5), 1-16.

Kiatkachatharn, C. & Chopngam, C. (2018). Development of Communicative Chinese Learning Through Task-Based Learning of Thai Students Studying in Chengdu University, PR China. International Journal of Integrated Education and Development, 3(2), 39-51.

Manzoor, F., Ahmed, M. & Gill, B. R. (2015). USE OF MOTIVATIONAL EXPRESSIONS AS POSITIVE REINFORCEMENT IN LEARNING ENGLISH AT PRIMARY LEVEL IN RURAL AREAS OF PAKISTAN. International Journal of English Language Teaching, 3(1), 32-47.

Oxford, R. L. (2006). Task-Based Language Teaching and Learning: An Overview. Asian EFL Journal, 8(3), 94-121.

Robinson, P. & Ellic, N. C. (2008). Handbook of Cognitive Linguistics and Second Language Acquisition. New York: Routledge.

Ojanen, T., Sijtsema, J. J., Hawley, P. H. & Little, T. D. (2010). Intrinsic and extrinsic motivation in learly adolescents’ friendship development: Friendship selection, influence, and prospective friendship quality. Journal of Adolescence, 33(6), 837-851

Williams, M. & Burden, R. L. (1997). Psychology for Language Teacher: A Social Constructivist Approach. Cambridge: Cambridge University Press.