การจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนของโลจิสติกส์ชิ้นส่วนยานยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนของโลจิสติกส์ชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มุ่งเน้นการศึกษาในบรรจุภัณฑ์ประเภท Multi-way packaging หรือบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อการประกอบรถยนต์ (OEM) โดยศึกษาครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวางแผนความต้องการ การออกแบบ และต้นทุนที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า การจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนของโลจิสติกส์ชิ้นส่วนยานยนต์มี 2 รูปแบบ คือ แบบแบ่งปันระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วน (Share mode) บริษัทผู้ประกอบรถยนต์เป็นผู้จัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน และแบบเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วน (Dedicate mode) บริษัทผลิตชิ้นส่วนเป็นผู้จัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน สำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ OEM เป็นแบบ Dedicate mode สำหรับการวางแผนความต้องการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนต้องคำนึงช่วงระยะเวลาที่บรรจุภัณฑ์อยู่ในแต่ละทำเลที่ตั้งเป็นสำคัญ ปัจจัยสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนที่สำคัญคือ ป้องกันความเสียหายจากการขนส่งและการจัดเก็บ และความสามารถในการวางเรียงซ้อนเมื่อมีสินค้าเต็มกล่อง (Stackability) และความสามารถในการวางซ้อนกันของกล่องเปล่า (Nestability) เนื่องจากจะทำให้เกิดการใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงได้ ในขณะเดียวกันหากจัดการได้ไม่เหมาะจะส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Advance Concept (M) SDN BHD. (2020). Pallet tainer & Rack. fhttp://www.advance-concept.net/index.php?ws=showproducts&products_id=19969 22&cat=Automotive-Racking&subcat=Pallet-Tainer-Rack#openproducts
Boonleang, K., & Chantrasa, R. (2011). A development of returnable packaging for automotive parts using value engineering technique. In IE Network Conference 2011 (pp. 1950-1955). RMUTT. [in Thai]
Boontho, P. (2017). Green logistics best practice in Thai automotive industry [Master’s thesis]. Thammasat University. [in Thai]
Casper, R., & Sundin, E. (2018). Reverse logistic transportation and packaging concepts in automotive remanufacturing. Procedia Manufacturing, 25, 154-160.
Davco Industries Ltd. (2020). Custom bins & baskets. https://www.davcoindustries.ca/products/collapsible-steel-bins-baskets/
Diogo, A. L. S., Gece, W. S. R., Gustavo, S., Tacila, B. S., & Oswaldo, M. S. T. (2013). Comparison of disposable and returnable packaging: A case study of reverse logistics in Brazil. Journal of Cleaner Production, 47, 377-387.
Fleckenstein, T., & Pihlstroem, E. (2015). Returnable packaging in the automotive supply chain [Master’s thesis]. Jönköping University.
Kuo, T., Chiu, M., Chung, W., & Yang, T. (2019). The circular economy of LCD panel shipping in a packaging logistics system. Resources, Conservation & Recycling, 149, 435-444.
Mensendiek, A. (2015). Scheduling with returnable containers. Journal of Scheduling, 18(6), 593-605.
Maleki, R. A., & Meiser, G. (2011). Managing returnable containers logistics-A case study part IIimproving visibility through using automatic identification technologies. International Journal of Engineering Business Management, 3(2), 45-54.
Mensendiek, A. (2015). Scheduling with returnable containers. Journal of Scheduling, 18(6), 593-605.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). Thailand’s logistics report 2019. https://www.nesdc.go.th/nesdb_en/download /article/article_ 20201112144736.pdf
Phermsuwan, P., & Pisitkasem, P. (2012). How to manage an effective packaging logistics. Executive Journal, 32(1), 130-137. [in Thai]
Rassamee, N. (2016). A management of returnable packaging for electronics parts in industrial factory [Master’s thesis]. Burapha University. [in Thai]
Response Packaging. (2020). Returnable dunnage. http://responsepackaging.com/customreturnable-dunnage/
Sakunsongdej, K. (2016). Implementation of returnable package for effective cost [Master’s thesis]. Burapha University. [in Thai]
Seksan, J. (2015). Closed-loop supply chain models. Thai Journal of Operations Research, 3(2), 9-16. [in Thai]
Sorat, T. (2015). Packaging design to support efficient logistics and marketing. Food Focus Thailand Magazine, 10(111), 52-58. [in Thai]
Zhang, O., Segerstedt, A., Tsao, Y., & Liu, B. (2015). Returnable packaging management in automotive parts logistics: Dedicated mode and shared mode. International Journal of Production Economics, 168, 134-144.