การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของโซ่อุปทานทุเรียนเพื่อการส่งออกในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานทุเรียนในจังหวัดจันทบุรีและเสนอแนวทางในการบริหารความเสี่ยงในโซ่อุปทานทุเรียน ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกร่วมกับการตอบแบบสัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโซ่อุปทานทุเรียนส่งออก โดยแบ่งการสำรวจข้อมูลเป็น 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เพื่อรวบรวมปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานทุเรียนส่งออก โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เกษตรกรจำนวน 13 ราย ผู้รวบรวมจำนวน 2 ราย และผู้ส่งออกจำนวน 2 ราย และครั้งที่ 2 เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกร จำนวน 3 ราย ผู้รวบรวบ 1 ราย และนักวิชาการ 1 ราย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในโซ่อุปทานทุเรียนส่งออกของจังหวัดจันทบุรีพบว่า มีปัจจัยเสี่ยงแบ่งได้ 10 ประเภท ประกอบด้วยจำนวน 29 ปัจจัยเสี่ยง ผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโซ่อุปทานทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกร ผู้รวบรวมหรือล้ง และผู้ส่งออกให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ ความเสี่ยงด้านราคา ความเสี่ยงด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน ความเสี่ยงด้านนโยบายความเสี่ยงด้านแรงงาน และความเสี่ยงด้านการผลิต ผู้วิจัยได้เสนอกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของเกษตรกร ผู้รวบรวบ และผู้ส่งออก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การลดโอกาสเกิดความเสี่ยง กลยุทธ์การลดผลกระทบความเสี่ยง กลยุทธ์การถ่ายโอนความเสี่ยง และกลยุทธ์การรับมือกับความเสี่ยง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Jaffee, S., Siegel, P., & Andrews, C. (2010). Rapid agricultural supply chain risk assessment: A conceptual framework. World Bank. http://documents1.worldbank.org/curated/en/657211468157529181/pdf/565900NWP0ARD01pApRisk1combined1web.pdf
Kamonsiripas, S. (2017). Risk management in supply chain in the context of faucet industry: A case study of faucet manufacturing company [Master’s thesis]. Thammasat University. [in Thai]
Office of Agriculture Economics, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2020). Details of durian table. http://shorturl.asia/z09o [in Thai]
Thailand Business Information Center in China. (2020). Exporters must learn and adapt: Thai durian must have “Identity card” before exporting to China. ThaiBizChina. https://shorturl.asia/3aO8f [in Thai]
Trade Policy and Strategy Office, Ministry of Commerce. (2020). Durian, the King of Thai fruits liked by foreigners. http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf [in Thai]
Waters, D. (2007). Supply chain risk management: Vulnerability and resilience in logistics. Kogan Page.