ปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ภาฝัน จิตต์มิตรภาพ
ฤๅเดช เกิดวิชัย
พรกุล สุขสด
ดวงกมล จันทรรัตน์มณี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของความเป็นเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการ จังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองอัจฉริยะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริหารระดับสูงในจังหวัดภูเก็ต ขององค์กรในภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันของความเป็นเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ตจำนวน 10 คน และกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงในกรุงเทพมหานครขององค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต จำนวน 6 คน นอกจากนี้มีการจัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ 2 กลุ่ม ๆ ละ 6 คนรวมเป็น 12 คน ด้วยคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม จำนวน 1 ชุด เพื่อสร้างแนวทางการบริหารจัดการจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองอัจฉริยะ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา จัดเนื้อหาเป็นแก่นหรือหลักของเรื่องที่ศึกษา และจัดประเด็นย่อย ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยผลการศึกษาพบว่า 1) ในด้านสภาพการณ์ปัจจุบันของความเป็นเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต การพัฒนายังไมส่ ามารถเกดิ เป็นรูปธรรมที่ยั่งยืนได้ เพราะขาดการบรู ณาการด้านข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ขาดความร่วมมือจากภาคเอกชนในการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ งบประมาณที่มีจำกัด และกฎหมายที่มีอยู่ไม่สอดรับกับนโยบายในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 2) ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย คือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งประชาชนเป็นผู้ที่สามารถขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในจังหวัดภูเก็ตได้มีระสิทธิภาพมากที่สุด และ 3) แนวทางการบริหารจัดการจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ 3.1) เศรษฐกิจอัจฉริยะ 3.2) การท่องเที่ยวอัจฉริยะ 3.3) ความปลอดภัยในการท่องเที่ยว 3.4) การเติบโตของเมืองควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม 3.5) การให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน 3.6) การศึกษาเพื่อสร้างความรู้ให้คน 3.7) การบริหารจัดการของภาครัฐ เพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน รองรับความต้องการใช้สาธารณูปโภคพื้นฐาน และเน้นความสะดวกสบาย และความปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anindra, F., Supangkat, S. H., & Kosala, R. R. (2019). Smart governance as smart city critical success factor (case in 15 cities in Indonesia). In International Conference on ICT for Smart Society (ICISS) 2018 (pp. 1-6). West Java.

Chareonwongsak, K. (2013). Creative thinking. Success Media. [in Thai]

Fietkiewicz, K. J., & Stock, W. G. (2015). Are Japanese cities? An empirical investigation of infrastructures and governmental programs in Tokyo, Yokohama, Osaka, and Kyoto. In 48th Conference on System Sciences Hawaii International (pp. 2345-2354). IEEE.

Giffinger, R., Fertner, C., Kramar, H., Kalasek, R., Pichler-Milanovic, N., & Meijers, E. (2007). Smart cities ranking of European medium-sized cities. Centre of Regional Science, Vienna University of Technology.

Lombardi, P. L., Giordano, S., Farouh, H., & Yousef, W. (2012). Modelling the smart city performance. innovation the European. Journal of Social Science Research, 25(2), 137-149.

Mangla, S. K., Luthra, S., Jakhar, S., & Singh Berwal, Y. P. (2017). Success factors to smart cities in India: An empirical investigation. Industrial Engineering Journal, 5(4), 6-12.

Myeong, S., Jung, Y., & Lee, K. (2018). A study on determinant factors in smart city development: An Analytic Hierarchy Process Analysis. Sustainability, 10(2606), 1-17.

Voicu, M. C. (2011). Using the snowball method in marketing research on hidden populations. Challenges of the Knowledge Society, 1, 1341-1351.

Ministry of Digital Economy and Society. (2019). National agenda action plan: Smart city development. http://mdes.go.th/assets/portals/1/files/591130_smart%20city%202.pdf [in Thai]

Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). Report on situation analysis of poverty and inequality in Thailand 2017. Office of the National Economic and Social Development Board.

Oberti, I., & Pavesi, A. S. (2013). The triumph of the smart city. Journal of Technology for Architecture and Environment, 5, 117-122.

Pal, D., Triyason, T., & Padungweang, P. (2018). Big data in smart-cities: Current research and challenges. Journal of Electrical Engineering and Informatics (IJEEI), 6(3), 351-360.

Pholsim, S. (2018). Understanding smart city. College of Local Administration Khon Kaen University. [in Thai]

Stawasz, D., Sikora-Fernandez, D., & Turala, M. (2012). Smart city concept as a factor for decision making in city management. Studia Informatica, 29(Szczecin), 97-109. [in Polish]

Sureshchandra, S. M., Bhavsar, J. J., & Pitroda, J. R. (2016). Assessment of critical success factors for smart cities using significance index method. IJARIIE, 2(1), 802-810.

Tohsira, C. (2015). Urbanization: Study on Thai educational preparation. Journal of Education Silpakorn University, 13(2), 181-191. [in Thai]