ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย

Main Article Content

ศจีมาศ ชาญฐิติเวช
ชวลิต จีนอนันต์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก รัฐบาลประเทศไทยจึงมีแผนที่จะสนับสนุนการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน หนึ่งในนั้นคือ แพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงาน โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มกับความสนใจและการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มในอนาคต โดยมีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์เป็นตัวแปรกำกับเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 463 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน รวมถึงการวิเคราะห์ตัวแปรกำกับ ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์ม ได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์การตระหนักรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ในส่วนของการพิจารณาปัจจัยกำกับพบว่า รายได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ถึงประโยชน์ทางการเงินและการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์ม อายุส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์และการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์ม และอายุยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อพลังงานหมุนเวียนและการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.

Alam, S., Hashim, N., Rashid, M., Omar, N., Ahsan, N., & Ismail, M. (2014). Small-scale households renewable energy usage intention: Theoretical development and empirical settings. Renewable Energy, Elsevier, 68(C), 255-263.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340. https://doi.org/10.2307/249008

Electricity Generating Authority of Thailand. (2018). National energy trading platform. https://www.egat.co.th/en/news-announcement/web-articles/national-energy-trading-platform

Fransson, N., & Gärling, T. (1999). Environmental concern: Conceptual definitions, measurement methods, and research findings. Journal of Environmental Psychology, 19, 369-382.

Kardooni, R., Yusoff, S., & Kari, F. (2016). Renewable energy technology acceptance in Peninsular Malaysia. Energy Policy, 88(C), 1-10.

Karytsas, S., & Theodoropoulou, H. (2014). Socioeconomic and demographic factors that influence publics’ awareness on the different forms of renewable energy sources. Renewable Energy, 71(C), 480-485.

Krupa, J., Rizzo, D., Eppstein, M., Lanute, D., Gaalema, D., Lakkaraju, K., & Warrender, C. (2014). Analysis of a consumer survey on plug-in hybrid electric vehicles. Transportation Research Part A, 64(C), 14-31.

Lin, C. Y., & Syrgabayeva, D. (2016). Mechanism of environmental concern on intention to pay more for renewable energy: Application to a developing country. Asia Pacific Management Review, 21(3), 125-134.

Liobikiene, G., Dagiliute, R., & Juknys, R. (2021). The determinants of renewable energy usage intentions using theory of planned behaviour approach. Renewable Energy, 170(C), 587-594.

National Statistical Office of Thailand. (2019). Statistical yearbook Thailand 2020. http://service.nso.go.th/nso/govstat/info.html [in Thai]

Rezaei, R., & Ghofranfarid, M. (2018), Rural households’ renewable energy usage intention in Iran: Extending the unified theory of acceptance and use of technology. Renewable Energy, 122(C), 382-391.

Tangphet, V. (2018). Factors affecting consumer’s battery electric vehicle purchase intention for gen X and gen Y in Bangkok [Master’s independent study]. Thammasat University. [in Thai]