การเล่าเรื่องข้ามสื่อในรายการเกษตร กรณีศึกษาเปรียบเทียบรายการเมืองไทยใหญ่อุดมและเกษตรก้าวไกลกับ สวก.

Main Article Content

กันยิกา ชอว์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “การเล่าเรื่องข้ามสื่อในรายการเกษตร กรณีศึกษาเปรียบเทียบรายการเมืองไทยใหญ่อุดมและเกษตรก้าวไกลกับ สวก.” เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย 2 เรื่อง ได้แก่ การออกแบบจุดสัมผัสผู้ชมรายการเมืองไทยใหญ่อุดม และการเปิดรับและความคิดเห็นต่อรายการเกษตรก้าวไกลกับ สวก. ซึ่งใช้แบบสอบถามการสัมภาษณ์ หรือการสนทนากลุ่มในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด รูปแบบ วิธีการเล่าเรื่อง ความพึงพอใจและความคาดหวังต่อรายการเกษตร เพื่อศึกษารูปแบบรายการเกษตรตั้งแต่ขั้นตอนก่อนผลิต การผลิต และหลังการผลิต ที่ตอบสนองความต้องการผู้ชม ในบทความนี้นำเสนอผลการศึกษาเฉพาะส่วนที่นำแนวคิดการเล่าเรื่องข้ามสื่อ (Transmedia Storytelling) ของ Henry Jenkins มาเป็นกรอบวิเคราะห์การศึกษานี้ทำให้เห็นว่ารายการเกษตรที่มีแนวโน้มว่าจะมีพื้นที่ออกอากาศน้อยลงในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการออกแบบการเล่าเรื่องโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ พิจารณาจากผลการศึกษา กล่าวคือ ทั้ง 2 รายการ มีการใช้หลักการเล่าเรื่องทั้งแบบเป็นเส้นตรงและไม่เป็นเส้นตรง ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหา หากเนื้อหาเข้าใจง่ายจะเล่าแบบเส้นตรง หากเนื้อหาเข้าใจยาก หรือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้รับสารควรรู้ หรือมีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องซับซ้อนจะมีการเล่าแบบไม่เป็นเส้นตรง ตัดสลับไปมา เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นและน่าสนใจส่วนหลักการเล่าเรื่อง 7 ประการของ Jenkins พบว่า รายการเกษตรทั้งสองรายการใช้หลักการเล่าเรื่อง ดังนี้ 1) พลังการแพร่กระจายในเชิงกว้างและเชิงลึก 2) ความต่อเนื่องและความหลากหลาย หรือการขยายและการดัดแปลงได้ 3) การฝังลึกประสบการณ์และการตัดตอนส่วนหนึ่งของประสบการณ์ไปใช้ 4) การสร้างโลกแฟนตาซี 5) อัตวิสัย หรือการเล่าเรื่องจากมุมมองของตัวละครแต่ละตัว 6) ผู้รับสารมีส่วนในการสร้างโลกร่วมกัน รายการเกษตรก้าวไกลกับ สวก. มีความคล้ายคลึงกับรายการเมืองไทยใหญ่อุดมในแง่ของการเน้นการเล่าเรื่องให้จบในแต่ละตอน ไม่ว่าจะใช้การเล่าแบบเส้นตรงหรือตัดสลับไปมา เพราะเนื้อหาหลักมีความเฉพาะเจาะจง เข้าใจยากหากไม่อธิบายให้จบกระบวนการ จึงไม่มีลักษณะการผลิตเป็นซีรีย์ ส่วนการใช้สื่อออนไลน์ จะพบว่าทั้ง 2 รายการมีการใช้สื่อออนไลน์ทั้งเพื่อการกระจายเนื้อหา การเล่าเรื่องเชิงลึก การเล่าเรื่องหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งเพื่อให้เกิดชุมชน เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน และระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร และเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้เกิดประเด็นในการนำเสนอต่อไปในอนาคต รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลของรายการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Argricultual Research and Development Agency (2018-2019). Television Clips during 2018-2019. http://www.arda.or.th/

Chaikhwang, P. (2021, September 4). Interviewed by C. Kosaikanon [Telephone]. Durian Garden Owner Suratthani, Bangkok.

Changsanor, C. (2021, September 4). Interviewed by C. Kosaikanon [Telephone]. Muangthai Yaiudom Producer (TV5), Bangkok.

Everyday Marketing. (2021). Report on Thailand digital stat 2021 from we are social. https://www.everydaymarketing.co/knowledge/thailand-digital-stat-2021-we-are-social/

Grabe, M. E., Lang, A., & Zhao, X. (2003). News content and form: Implications for memory and audience evaluations. Communication Research, 30(4), 387-413.

Jenkins, H. (2006). Convergence culture: Where old and new media collide. Georgetown University Press.

Jenkins, H. (2009). The revenge of origami unicorn: Seven principles of transmedia storytelling.

Henry Jenkins. http://henryjenkins.org/blog/2009/12/the_revenge_of_the_origami_uni.html

Kosaikanon, C. (2022). Product touchpoint of “Muangthai Yaiudom” agriculture news programme [Master’s thesis]. Panyapiwat Institute of Management.

Limsringam, P., Sasithanakornkaew, S., & Apisupachok, W. (2021). Perception of corona virus 19 through social media and attitude and behavior of virus protection in Bangkok. Maha Chulanakorntas Journal, 8(9), 18-33.

Media Monitor. (2009). Television aricultural programs: Reflection for the importance of argriculture in Thailand. http://oknation.nationtv.tv/blog/teammediamonitor/2009/04/07/entry-1

Pongpanas, A. (2021, September 4). Interviewed by C. Kosaikanon [Telephone]. Private sector employee, Bangkok.

Press Council of Thaland. (2012). Press council of Thailand in convergence era. Press Council of Thailand.

Reansoy, U. (2021, September 4). Interviewed by C. Kosaikanon [Telephone]. Tankhun Organic Farm, Bangkok.

Saiseesod, S. (2021). COVID-19 perception and awareness of students in Udonthani Province during COVID-19 pandemic. Valaya Alongkorn Review (Humanity and Sociology), 11(1), 13-25.

Sakulwacharaanan, R. (2021, September 4). Interviewed by C. Kosaikanon [Telephone]. Muangthai Yaiudom MC (TV5), Bangkok.

Shaw, K. (2017). Media exposure and public opinion towards Kasedkaoklai kub Sor Vor Kor. Bangkok Yell.

Shaw, K. (2018). Media exposure and public opinion towards Kasedkaoklai kub Sor Vor Kor. Bangkok Yell.

Suwannarat, S. (2010). Factors affecting production and distribution of argricultural television program in Thailand [Master’s thesis]. Kasertsart University.

TV5HD Online (2021). Muangthai Yaiudom program. https://www.youtube.com/watch?v=qFSEkHosknM and TV5HD1