ประสิทธิภาพในการจัดการด้านการผลิตและการตลาดธุรกิจครบวงจร ของบริษัท สวนละออ จำกัด กรณีศึกษาผักสลัดไฮโดรโพนิกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการจัดการธุรกิจครบวงจรของบริษัท สวนละออ จำกัด กรณีศึกษาผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการจัดการด้านการผลิตผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ ของบริษัทสวนละออ จำกัด ได้แก่ ต้นทุนการผลิต และจุดคุ้มทุนในการผลิต และ 2) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการจัดการด้านการตลาดผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ของบริษัท สวนละออ จำกัด ได้แก่ ต้นทุนการตลาดและส่วนเหลื่อมการตลาด จากนั้นจึงวิเคราะห์ในภาพรวมของการประกอบธุรกิจผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ของบริษัท สวนละออ จำกัด ด้วยอัตรากำไรและอัตราผลตอบแทนการลงทุน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประชากรที่ใช้ศึกษาในการวิจัยนี้คือ เจ้าของกิจการ 1 คน และผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตผักสลัดไฮโดรโพนิกส์ทั้งส่วนงานการผลิตคือ ผู้จัดการฟาร์ม 1 คน พนักงานฝ่ายผลิต 1 คน และการตลาดของบริษัท สวนละออ จำกัด จังหวัดตาก คือ พนักงานฝ่ายบัญชี 1 คน และพนักงานฝ่ายการตลาด 1 คน ผลการวิเคราะห์หาต้นทุนการผลิตผักสลัดพบว่า ต้นทุนการผลิตผักสลัดเป็นดังนี้ บริษัทมีต้นทุนทั้งหมดของผักแต่ละชนิดต่อโต๊ะปลูกต่อรอบการผลิตเป็นดังนี้ เรดโอ๊คมีต้นทุนสูงที่สุด 582.31 บาท รองลงมาคือ กรีนโอ๊ค มีต้นทุน 565.06 บาท ฟิลเลย์มีต้นทุน 502.11 บาท และคอสมีต้นทุน 440.50 บาท ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเมื่อพิจารณา ณ ราคาขายที่ 84.11 บาท พบว่า บริษัท สวนละออ จำกัด มีส่วนเหลื่อมตลาดร้อยละ 50.85 มีกำไรสุทธิและจุดคุ้มทุนของบริษัท สวนละออ จำกัด ในช่วง เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562 จำแนกตาม ชนิดผักสลัด โดยคำนวณจากนํ้าหนักเฉลี่ยต่อโต๊ะพบว่า คอสมีกำไรสูงสุด คือ 32.53 บาทต่อกิโลกรัม รองลงมาคือกรีนโอ๊ค มีกำไร 29.53 บาทต่อกิโลกรัม เรดโอ๊ค มีกำไร 26.90 บาทต่อกิโลกรัม และฟิลเลย์ มีกำไร 20.62 บาทต่อกิโลกรัม ปริมาณการผลิตที่คุ้มทุนของผักแต่ละชนิดควรเป็นดังนี้ กรีนโอ๊ค 11.78 กิโลกรัมต่อโต๊ะ เรดโอ๊ค 11.73 กิโลกรัม ต่อโต๊ะ ฟิลเลย์ 9.47 กิโลกรัมต่อโต๊ะ และคอส 9.60 กิโลกรัมต่อโต๊ะ จากต้นทุนการผลิตและปริมาณผลผลิตเฉลี่ยข้างต้นราคาขายที่เป็นราคาขายคุ้มทุนของผักสลัดแต่ละชนิดเป็นดังนี้ กรีนโอ๊ค 54.58 บาทต่อกิโลกรัม เรดโอ๊ค 57.21 บาทต่อกิโลกรัม ฟิลเลย์ 63.49 บาทต่อกิโลกรัม และคอส 51.58 บาทต่อกิโลกรัม จากการวิเคราะห์อัตรากำไรพบว่า คอสมีอัตรากำไรสูงที่สุดร้อยละ 38.68 รองลงมาคือ กรีนโอ๊คมีอัตรากำไรร้อยละ 35.11 ฟิลเลย์มีอัตรากำไรร้อยละ 31.98 และเรดโอ๊คมีอัตรากำไรร้อยละ 24.52 ตามลำดับ และผักสลัดแต่ละชนิดมีอัตราผลตอบแทนดังนี้ กรีนโอ๊คมีอัตราผลตอบแทนสูงที่สุดร้อยละ 271.60 รองลงมาคือ คอสมีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 258.14 เรดโอ๊คมีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 235.14 และฟิลเลย์มีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 131.03 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Angyureekul, N. (2004). Agribusiness management. Department of Agricultural and Resource Economics, Faculty of Economics, Kasetsart University.
Arkkarayut, P. (2005). 5 trends of foods and drinks in the future. SCBEIC. www.scbeic.com
Bangchoud, T. (2001). Economy analysis of hydroponic vegetable production [Master’s thesis]. Kasetsart University.
Kamwongsa, A. (2010). Production and investment guideline of hydroponic vegetable business. Naka.
Sangjaruswong, N. (2005). A study of factors affecting the consumption behavior of hydroponic vegetables of people in Bangkok [Master’s independent study]. Kasetsart University. [in Thai]
Sateansawad, W. (1998). Development of plant technology with hydroponics. National Research council of Thailand. [in Thai]
Taksinavisut, S. (2005). Principle of agricultural product marketing. Department of Agricultural and Resource Economics, Faculty of Economics, Kasetsart University.
Thongaram, D. (2004). Soilless growing: Principles of production management and business production technology in Thailand (12th ed.). Pimdee Printing Co. [in Thai]
Thongaram, D. (2007). Soilless culture in tropics: Production management and technology of production business in Thailand (3rd ed). Se-Education. [in Thai]