การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สาคร สมเสริฐ
อภิชัย พันธเสน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อบต.เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ศึกษากลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 36 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานจ้าง อบต. จำนวน 18 คน กลุ่มผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน และสมาชิกชุมชน จำนวน 18 คน มีทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนผลเชิงคุณภาพตามกรอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงเชิงระบบ ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า และนำเสนอด้วยการเรียบเรียงเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า อบต.เกาะเกร็ด มีความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงระดับเข้าใจหรือการเป็นองค์กรแห่งความสุข โดยได้คะแนนประเมินตัวชี้วัดหลัก 12 ตัวชี้วัด 251 คะแนน จากคะแนนเต็ม 300 และแนวทางการยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงคือ การมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุขด้วยการดำเนินงานตามเกณฑ์ตัวชี้วัดความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงระดับเข้าถึงโดยเน้นประเด็นตัวชี้วัดที่ได้คะแนนประเมินน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 10.1 การศึกษา 10.3 การจัดการขยะในระดับที่สูงขึ้น 11.1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น 12.1 การลดปัญหาทางสังคมต้องแก้ไขด้วยการช่วยลดอบายมุขในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และ 12.2 เพิ่มสวัสดิการทางสังคมเท่าที่สามารถทำได้ ด้วยการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในงานพัฒนาที่ตัวประชาชนเองตระหนักถึงประโยชน์ที่ตนได้รับและเป็นสิ่งที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่โดยตรง โดยอาศัยผู้นำท้องถิ่นที่สามารถประสานความร่วมมือได้กับทุกฝ่าย และเครือข่ายผู้นำอย่างไม่เป็นทางการภายในชุมชนเป็นกลไกสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chiengkul, W. (2010). The science and art of leading the modern world. Saitharn.

Faitakham, A. (2001). Principles of community development. Khon Kaen University.

Koh Kret Sub-district Administrative Organization [SAO.Koh Kret]. (2019). Basic information of Koh Kret Sub-district Administrative Organization. https://www.kohkred-sao.go.th/public/

Office of the National Economic and Social Development Council [NESDC]. (2022). National economic and social development plan no. 13 B.E. 2023-2027 (revised according to the results of public hearings). http://www.nesdb.go.th

Phongphit, S. (2008). Concept of local development strategy practice. Wisdom Force.

Praditsil, C., Krunnung, C., & Sombatrattananun, J. (2021). Critical survey of body of knowledge concerning decentralization to localities in Thailand. Journal of Social Sciences, 51 (1), 51-72. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/

Praditsil, C. (2018). Local governance and politics according to sufficiency economy philosophy and King Bhumibol’s Science. Thailand Science Research and Innovation.

Puntasen, A. (2019). Sufficiency economy: His Majesty and the grace of King Rama 9 (2nd ed.). Parbpim Printing.

Puntasen, A. (2022). Leadership under the context of social innovation. S.S. Printing and Design. Research and Development Institute of Sufficiency Economy Philosophy Foundation. (2012). Following in the footsteps of His Majesty the King’s philosophy of sufficiency economy. Petchrung Print Center.

Rural and Social Management Institute [RASMI]. (2020). Mobilizing sufficiency economy philosophy to local administrative organizations in Thailand. Rural and Social Management Institute Foundation for Thailand Rural Reconstruction Movement (PRRM)

under Royal Patronage.

SEP Action. (2021). Take lessons from the level of access to the Sufficiency Economy of the Local Government Organization. https://sepaction.com/

Sinchoowonges, P. (2009). Constraints and problems in a rural and agricultural conservation land use regulation implementation of Nontaburi general plan: A case study of Koh Kret [Master’s thesis]. Silpakorn University Library. http://www.sure.su.ac.th:8080/xmlui/handle/123456789/11153