กลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือ ของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) นำเสนอกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 320 คน แจกแบบสอบถามโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI Modified รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขนาดใหญ่พิเศษจำนวน 5 แห่ง โดยใช้ แบบสัมภาษณ์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม ตรวจสอบกลยุทธ์โดยการสนทนากลุ่ม (Group Discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 อยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือฯ พบว่า มีค่าเฉลียเท่ากับ 4.62 อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นพบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดไปต่ำสุดคือ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ผลประโยชน์ร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และวิสัยทัศน์ร่วม
2. กลยุทธ์การบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 6 พันธกิจ 6 เป้าหมาย 9 วัตถุประสงค์ 11 กิจกรรมโครงการ และ 10 ตัวชี้วัดความสำเร็จ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Bungthong, S. (2020). A study of factors learning network of the private school. Journal of Educational Administration, Khon Kaen University, 16(2), 66-79. [in Thai]
Bunpong, N. (2017). A proposed model for school network management of the primary educational service area office [Doctoral dissertation]. Phra Nakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. [in Thai]
Chaisupa, P. (2019). Quality development operation of externally evaluated basic education institutions in Mae Hong Son Province [Master’s thesis]. Ching Mai University. [in Thai]
Chareonwongsak, K. (1997). Comprehensive reform: Entering a prosperous era of Thailand. Success Media. [in Thai]
Chareonwongsak, K. (2002). Creative thinking. Success Media. [in Thai]
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Norwich, B. (2007). Cluster Inter-school collaboration in meeting special educational needs in ordinary schools. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/download/254747/174565/988030
Office of the Basic Education Commission. (2007). Manual for creating a joint development network and promote student potential. Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Co., Ltd. [in Thai]
Office of the National Primary Education Commission. (2002). National academic calendar 1999 and as amended for 2002 (2nd ed.). Siam Sport Syndicate. [in Thai]
Robert, A. (2006). Inside collaborative networks: Ten lessons for public managers. Public Administration Review, 66(6), 57-58.
Sangsri, W. (2009). An analysis and development of school network administration model in Northeastern rural area [Doctoral dissertation]. Chulalongkorn University. [in Thai]
Sawangwong, S. (2014). Collaborative network for educational quality improvement. Buabandit Journal of Educational Adminisitration, 14(2), 12-24. [in Thai]
Thammanankun, C. (1998). Learning organization. Business Intelligence Uncreativity. [in Thai] William, J. (2007). Co-operation in the countryside. Small Primary School Clusters. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/download/254747/174565/988030
Wongwanich, S. (2015). A needs assessment research (3rd ed.). Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]