การวิเคราะห์จริยศาสตร์ที่มีอิทธิพลในอัตชีวประวัติไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต

Main Article Content

บุญสิตา อารีย์พงษ์
กนกพร นุ่มทอง

บทคัดย่อ

ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต เป็นหนังสืออัตชีวประวัติของไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิตจนได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นประจำปี ค.ศ. 1999 และเป็นหนังสือที่มียอดขายดีที่สุดของไต้หวัน ซึ่งบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์จริยศาสตร์ที่มีอิทธิพลในอัตชีวประวัติของไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต และเพื่อเป็นการนำเสนอแนวคิดและแบบอย่างการใช้ชีวิตในการก้าวข้ามอุปสรรคจนสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ตามที่ปรากฏในงานวรรณกรรม เรื่อง ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต โดยใช้วิธีการศึกษาจากการตีความตัวบท นำเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ไล่ตงจิ้นเป็นผู้มีจริยศาสตร์แบบขงจื่อคือ มีความกตัญญูกตเวทีและปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตน อีกทั้งยังมีจริยศาสตร์ตามแนวคิดพุทธศาสนาแบบมหายานคือ เป็นผู้ที่ใช้ปัญญา และมีจิตเมตตาในการช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และมีคุณลักษณะมโนทัศน์จิตวิญญาณแบบครบถ้วน คือ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีเป้าหมายในชีวิตจากการทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ มีสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกครอบครัว มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ มีคุณลักษณะของปัญญาและความก้าวพ้น รวมไปถึงมีความแข็งแกร่งจากภายใน ดังนั้นชีวิตของไล่ตงจิ้นจึงเป็นแบบอย่างและได้รับการศึกษาและยกย่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chasatienpong, W. (2014). Social change in Lai Dong Jin autobiography the beggar child. Silpakorn University. [in Thai]

Chuengsatiansup, K., & Anuphongphat, N. (2017). Spiritual health: Spirituality religion and humanity. National Health Commission Office. [in Thai]

Culliford, L. (2002). Spiritual care and psychiatric treatment: An introduction. Advances in Psychiatric Treatment.

Gu, Y. (2014). People of Taiwan living a spirit of pioneering and tradition. National Cultural Geography, (8), 58-61. [in Chinese]

Lai, D. J. (2006). Lai Dongjin the Beggar Child (16th ed.). Nanmeebooks. [in Thai]

Lai, D. J. (2008). Beggar pauper. East China Normal University Press. [in Chinese]

McBrien, B. (2006). A concept analysis of spirituality. British Journal of Nursing, 15, 42-45.

Mok, E., Wong, F., & Wong, D. (2010). The meaning of spirituality and spiritual care among the Hong Kong Chinese terminally ill. Journal of Advanced Nursing, 66(2), 360-370.

Mongkhonittivech, N., Chailangkarn, K., Photiban, L., & Jidjun, J. (2009). The knowledge synthesis of development of wisdom (spirituality) from success stories of the providers and clients in health system: Wisdom development and relating factors. Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and Mental Development for Health Work Plan of Sodsri-Saritwong Foundation. [in Thai]

Suwan, N., Kantawang, S., & Lirtmunlikaporn, S. (2018). Concept analysis of spirituality. Rama Nurs J, 24(1), 1-12. [in Thai]

Tanyi, R.A. (2002). Towards clarification of the meaning of spirituality. Journal of Advanced Nursing, 39, 500-509.

Xing, H. M. (1996). The spirit of the Chinese people. Hainan Publishing House. [in Chinese] Yodkeeree, S. (2017). Philosopher’s conception of ethics, morals and virtues. Journal of Philosophical vision, 22(2), 37-53. [in Thai]