การพัฒนาต้นแบบสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนรองรับการเติบโต ของอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาวะปัจจุบันของกำลังคนและความต้องการคุณลักษณะของกำลังคนในอุตสาหกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) พัฒนาต้นแบบสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาระบบ ด้านการบริหาร ด้านเทคโนโลยี การศึกษา ด้านการพัฒนากำลังคน จำนวน 17 ท่าน 2) ผู้ประกอบการหรือผู้แทนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 30 คน 3) กำลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับ ปวช. จำนวน 453 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินร่างต้นแบบสถาบันพัฒนาศักยภาพ กำลังคนรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) แนวคำถามสำหรับการประชุม วิพากษ์ร่างต้นแบบสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก 3) แนวคำถามสำหรับสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 4) แบบสอบถามสำหรับผู้ประกอบการ และ 5) แบบสอบถามสำหรับกำลังคน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของกำลังคน ระดับทักษะด้าน Soft Skill ของกำลังคน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.71 ระดับ ปานกลาง มีความต้องการพัฒนาด้าน Soft Skill มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ระดับมาก และระดับทักษะด้าน Hard Skill ของกำลังคน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 ระดับปานกลาง มีความต้องการพัฒนาด้าน Hard Skill มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.17 ระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48
2. ต้นแบบสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกเป็นหน่วยงานอิสระ โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษา วิจัย ด้านการพัฒนาศักยภาพกำลังคน มีลักษณะ 2 ลักษณะ คือ 1) เป็นสถาบันจัดตั้ง มีศูนย์ประสานงานโครงการ ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เป็นสำนักงานเสมือนจริง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 2.1) ปรัชญา (Philosophy) 2.2) เป้าหมาย (Goals) 2.3) ทรัพยากร (Resource) 2.4) โครงสร้างหารบริหารงาน (Structure) 2.5) กระบวนการ (Process) และ 2.6) การประเมินปรับปรุง (Evaluation and Improvement)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Buapliansi, N. (2018). Personnel development model in the Eastern Economic Corridor to support future target industries. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 4(1), 303-315.
Department of Employment. (2018). Demand for labor in the Eastern Economic Corridor. Department of Employment.
Government Big Data Institute (GBDi). (2020). What is big data? https://bigdata.go.th/big-data-101/what-is-big-data/
Khlaisang, J. (2013). MOOCs pedagogy: From OCW, OER to MOOCs, a learning tool for the digital learner. In The National Academic Conference on e-learning 2013 (pp. 276-285). Thailand Cyber University.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kuchonthara, P. (2014). Developing blended learning and flexible learning styles to promote lifelong learning for working adults [Doctoral dissertation]. Srinakharinwirot University.
Learning Institute of King Mongkut’s University of Technology Thonburi. (2017). Learning style for the new generation. http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/899/Digilearn_infographic
National Statistical Office. (2020). Demographic statistics population and housing. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
Office of the Education Council. (2017). State of Education in Thailand Year 2015/2016 The need for competition and decentralization in the Thai education system. 21 Century. https://riped.org/wp-content/uploads/2020/09/ONEC_2558-2559.pdf
Office of the National Economics and Social Development Council. (2017). National strategy 2018-2037. https://www.eeco.or.th/web-upload/flecenter/html/establishment/Feasibility/003.pdf
Onchawiang, D., & Thamma, D. (2021). Big data and the development of manpower potential. Manpower Potential Development Institute for Eastern Economic Corridor, 1(2), 27-44.
Thailand Development Research Institute. (2018). Digital manpower development study project to support the target industry (S-curve) and Development of the Eastern Economic Corridor. https://tdri.or.th/2018/09/digital-manpower/
The Eastern Economic Corridor Office of Thailand. (2018). Personnel development, education, research and technology action plan to support the development of the Eastern special development zone. https://www.eeco.or.th/web-upload/flecenter/untitled%20
folder/EEC013.pdf
The Eastern Economic Corridor Office of Thailand. (2019). Personnel skill development according to the EEC model. https://www.eeco.or.th/th/eec-model