เทคนิคการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากพืชสมุนไพรผักเชียงดาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐีเรือทองเกษตรอินทรีย์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ภีมภณ มณีธร

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการเพิ่มรายได้ของชุมชน การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากพืชสมุนไพรผักเชียงดาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐีเรือทองเกษตรอินทรีย์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเชียงดา จำ นวน 14 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ด้วยวิธีจ้างผลิตในปริมาณขั้นตํ่ากับโรงงานที่พร้อมสนับสนุน โดยมีต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ คุ้มค่ากับการลงทุน เพิ่มมูลค่าจากผลิตภัณฑ์ชาบดผงจากสมุนไพรเชียงดา ซองละ 6 บาทสู่ผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปชนิดผงผสมใบผักเชียงดา ซองละ 25 บาท โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 19 บาทต่อซอง เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 316.67 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ควรนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่รักในสุขภาพโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs มุ่งเน้นสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจและนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ่านการออกร้านประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ นำสินค้าวางจำหน่ายในช่องทางตลาดกลางออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chantavanich, S. (2011). Qualitative research methods (19th ed.). Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Department of Industrial Promotion. (2020). Concept of product development process. https://bsc.dip.go.th/th/category/quality-control/qs-newproductdevelopment [In Thai]

Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. (2021). Principle of SWOT analysis. https://www.agri.cmu.ac.th/2017/fles/Download/Principlesofpercentageanalysis20SWOT.pdf

Kuntonbutrs, S. (2015). Modern principle of marketing (6th ed.). Chulalongkorn University. [in Thai]

Maneetorn, P. (2023). Research to find ways to extend products from local medicinal plants to a standardized and commercially competitive health product of organic farming community enterprise group, Mae Taeng District, Chiang Mai Province (Research report). Chiangmai Rajabhat University. [in Thai]

Maneetorn, P., & Somyana, W. (2019). Ways to develop Doi-Whan coffee products, Doi Saket District, Thep Sadet Subdistrict, for Commercial and Public Benefits under the ASEAN Economic Community (AEC). Journal of Management Science Review of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University, 21(2), 97-106. [in Thai]

Office of the Permanent Secretary for Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2023). Basic information about Chiang Mai Province. https://www.opsmoac.go.th/chiangmai-dwlfiles-441891791322 [In Thai]

Science and Technology Research Institute. (2020). Gurmar. https://stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=51 [in Thai]

Srisook, T. (2022). Development guideline of processed agricultural products groups under project for pushing farmer to be smart farmer in Lampang Province. Western University Research Journal of Humanities and Social Science, 6(1), 39-51. [in Thai]

Waterman, R. (2012). 7S model. Blogspot. http://adisonx.blogspot.com/2012/10/7s-model.html [in Thai]