ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน และกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง 21 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้นํ้า 370 คน ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง 30 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของการบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน ประกอบด้วยระดับปัญหาเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านเทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ 2) ด้านการบริหารจัดการนํ้า 3 ) ด้านแหล่งนํ้า 4) ด้านเครือข่ายความร่วมมือ และ 5) ด้านชุมชน สำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์และประเมินยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน โดยมีเกษตรกรผู้ใช้นํ้า 30 คน ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลองพบว่าเกษตรกรผู้ใช้นํ้ามีความพึงพอใจกิจกรรมการบริหารจัดการนํ้าชุมชนเพื่อการเกษตรแบบมีส่วนร่วม ผลคะแนนของแบบทดสอบด้านความรู้เพิ่มขึ้นทุกคน เมื่อเปรียบเทียบค่าทางสถิติมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ 0.01 และควรมีการศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการนํ้าอย่างยั่งยืนเพื่อนำข้อมูลมาปรับใช้ในการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Boonlai, S., & Sripokangkul, S. (2017). Guideline of water management development for sustainable agriculture system: A case study of Tha Khraserm Sub-district, NamPhong District, Khon Kaen Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1771-1784. [in Thai]
Buripakdee, C. (2002). Community research. S.R. Printing Massproducts. [in Thai]
Chompuming, P. (2015). Network governance model for water resource management: Area case study Yom River Basin Region. Sakthong Journal: Journal of Humanities and Social Sciences Research Institute and Development of Kamphaeng Phet Rajabhat University, 21(3), 145-159. [in Thai]
Hydro-Informatics Institute Public Organization. (2017). Community water resource management manual according to the royal initiative with science and technology (2nd ed.). Hydro-Informatics Institute Public Organization. [in Thai]
Kasemsuk, J. (2014). Principles of participation in sustainable community development. Chulalongkorn University Publishing House.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mettakarunjit, M. (2010). Participatory education management: Citizens, administrative organizations local government and government. Bookpoint. [in Thai]
National Water Resources Office. (2018). 20-year water resource management master plan (2018-2037). National Water Resources Office.
Office of Agricultural Economics. (2019). Agricultural economic information: Land use. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/LandUtilization2562.pdf
Olankitcharoen, S. (2016). Strategic plan of water resource management of Nongbualumpoo Province. Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University, 16(2), 139-174. [in Thai]
Photacharoen, V., & Chulasak, R. (2022). Knowledge management of smart water system for agriculture in Omkoi District, Chiang Mai. Chiang Mai Rajabhat University Intellectual Repository. http://cmruir.cmru.ac.thbitstream.pdf
Pongbua, P. (2020). Collaborative networs in water management for agriculture in Baan Tha Ngio Bung Wai Sub-district, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Politics and Governance, Mahasarakham University, 10(1), 91-107. [in Thai]
Pukogkoi, P., & Zumitzavan, V. (2019). Sustainability of water management of local administraation: A case study of Banton Prayuen Khon Kaen. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 5067-5078. [in Thai]
Royal Irrigation Department. (2021). Project to study the feasibility of water resource development. Huai Luang River Basin upper-middle part Udon Thani Province. http://www.pandc.co.th/images/downloads/huailuang/documents2564_1.pdf
Simsuay, C. (2013). Study of development and changes in water management models for agriculture in the Mae Khan Basin Chiang Mai Province. Romphruek Journal Krirk University, 31(3), 86-114. [in Thai]
Sukkorn, K., Vipasrinimit, P., & Supachantarasuk, S. (2017). Communities participation on strategic management of wang river. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1969-1989. [in Thai]
Thipsuwan, C. (2014). Integrated water resources management in the Mae Rim Basin, Chiang Mai Province. Academic Social Science Journal Chiang Rai Rajabhat University, 8(1), 1-10. [in Thai]