การถอดบทเรียนการบริหารจัดการโรงแรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยระดับสากล

Main Article Content

ชมพูนุท สิงห์มณี
วิภาดา คุณาวิกติกุล
วิไลพรรณ ใจวิไล
เบญจมาศ สุขสถิตย์
พนิตสิรี แพ่งสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการโรงแรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยระดับสากล กรณีศึกษาโรงแรมอ่าวนาง ปรินซ์วิลล์ จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงแรม บุคลากรระดับหัวหน้าฝ่าย บุคลากรของโรงแรม ผู้ปฏิบัติงานด้านสปา ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม และฝ่ายจัดซื้อ จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มโดยใช้แบบสัมภาษณ์การบริหารจัดการโรงแรมตามมาตรฐานสากล GBAC STAR และการพัฒนาโรงแรมให้ได้มาตรฐาน และนำ มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า โรงแรมที่เป็นกรณีศึกษามีการบริหารจัดการในการขอรับการรับรองจาก GBAC STAR เป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการก่อนการได้รับการรับรอง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนเตรียมการบริหารจัดการ ขั้นตอนเตรียมเอกสารเพื่อขอการรับรอง และขั้นตอนเข้าสู่กระบวนการรับรอง 2) ระยะการดำ เนินการภายหลังการได้รับการรับรองจาก GBAC STAR การบริหารจัดการที่ช่วยให้โรงแรมสามารถขับเคลื่อนและพัฒนากิจกรรมบริการเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การบริหารบุคคล การนำองค์กร และการควบคุม


กระบวนการบริหารจัดการของโรงแรมดังกล่าว สามารถนำ ไปขยายผลให้โรงแรมอื่นใช้เป็นแนวทางในการดำ เนินการเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GBAC STAR ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chulalongkorn University Intellectual Property Institute. (2017). Intellectual property innovation driven enterprise retrieve. https://www.ipthailand.go.th/images/3534/web_01052018/Report_CHU/8_Well-being_06.12.2017_CHU.pdf

GBAC STAR Facility Accreditation a Division of ISSA. (2022). GBAC STAR facility accreditation https://gbac.issa.com/gbac-star-facility-accreditation/

Jaiwilai, W., & Sukphet, K. (2023). Factors related to the Thai aging travelers’ behavior in selecting wellness tourism services during the COVID-19 pandemic. Panyapiwat Journal, 15(1), 158-176. [in Thai]

Katawandee, P, & Kittikovit, S. (2005). Wellness tourism: Development strategies for hotel business. http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/CU0252/CU0252_fulltext.pdf [in Thai]

Knootz, H. D. (1972). Principle of management: Analysis of managorial functions. MeGraw Hill Book.

Le, D., & Phi, G. (2021). Strategic responses of the hotel sector to COVID-19: Toward a refined pandemic crisis management framework. International Journal of Hospitality Management, 94, 102808. https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2020.102808

Limarunothai, W., Pipawarokorn, A., & Chiravongvit, V. (2023). The enhance to wellness tourism: The adaptive on hotel business after COVID-19 crisis in Thailand. In The 14th NPRU National Academic Conference Nakhon Pathom Rajabhat University (pp. 2522-2534). Nakhon Pathom Rajabhat University. https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/1820

SEA Consulting. (2022). GBAC STAR. https://seaconsulting.asia/gbac-star/

Sucharitkul, J. (2019). Transformational leadership among administrators of the local government administration in Thailand 4.0 era: A case study of Phuket Local Government Administration. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 4930-4943.

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/download/215639/162262/805428 [in Thai]

Tadasirichoke, P. (2020). Adaptive strategy of hotel management during Coronavirus (COVID-19) pandemic situation: A case study of the Patra Hotel-Rama 9 [Master’s thesis]. Silpakorn University.

The Future of Wellness. (2021). Global wellness summit. https://www.globalwellnesssummit.com/trends-2021/