อิทธิพลของความพึงพอใจในการทำงานและการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีต่อความผูกพัน ต่อองค์การเมื่อควบคุมและไม่ควบคุมปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานโรงแรม

Main Article Content

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์
ณภัทร วุฒิวงศา
ภรภัทร ชูแข
ปิยวุฒิ ศิริมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรมเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน การเห็นคุณค่าในตนเองและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรม (3) ศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่านเมื่อควบคุมและไม่ควบคุมปัจจัยส่วนบุคคล ตัวอย่างในการวิจัย คือพนักงานโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 192 คน จากการเลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบให้เลือกตอบและประเมินค่า สถิติวิเคราะห์ คือ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ การวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น และการวิเคราะห์การส่งผ่าน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า      1) พนักงานโรงแรมมีระดับความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจำแนกตามอายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาทำงานและรายได้ แต่ไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามเพศและระดับการศึกษา       2) ความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเอง และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับความผูกพันต่อองค์การ 3) ความพึงพอใจในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการเห็นคุณค่าในตนเองต่อความผูกพันต่อองค์การ ทั้งกรณีควบคุมและไม่ควบคุมปัจจัยส่วนบุคคล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกตุนภัส เมธีกสิวัฒน์. (2555). ความสัมพันธ์ของความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องานและองค์การ กับความตั้งใจลาออกของพนักงานในธุรกิจโรงแรมจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุรนารี.

จิตรลดา ฐินถาวร และทิพทินนา สมุทรานนท์. (2553). ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองที่มีพื้นฐานมาจากองค์การ การรับรู้ ความยุติธรรมในองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานราชการ:กรณีศึกษา กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ต่อลาภ ประภัศรานนท์. (2552). ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจต่องานและองค์กรในธุรกิจโรงแรมในระดับ 4 และ 5 ดาว ภายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถนอมศรี แดงศรี. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ และผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ โรงพยายาบาลชั้นนำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ธีราภัทร ขัติยะหล้า. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

ปณิชา ดีสวัสดิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการทำงาน และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลทหารผ่านศึก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปริญญา สัตยธรรม. (2550) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท วาย เอช เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พัชรา ทาหอม. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

รพีพรรณ สุพรรณพัฒน์. (2555). ศึกษาความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงแรมโซฟิเทล เซนทาราแกรนด์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาจุฬาลงกรณ- ราชวิทยาลัย.

วิทย์ เมฆะวรากุล. (2553). อิทธิพลของความพึงพอใจในค่าตอบแทนต่อความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การในบริบทของการรับรู้ความยุติธรรมของพนักงานโรงแรมในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวตลอดปี 2556 และแนวโน้มการท่องเที่ยวปี 2557. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2557, จาก http://www.thailandtourismcouncil.org/imgadmins/news

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). (2553). บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทปี 2553. สืบค้นเมื่อ11 กันยายน 2557, จาก http://www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments.pdf

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2555). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ: การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมไทยในยุค AEC. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2557, จาก cs.human.ku.ac.th/art_attachments/art55.pdf

อัจฉรา จันทะบาล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงานโรงแรมโซฟิเทล สีลม กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัชฌา ชื่นบุญ, รุ่งฤดี โลลุวิวัฒน์, ศราวุธ มั่นสูงเนิน, จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์ และสุนทร ช่องชนิล. (2013).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลกรในโรงพยาบาลเซนต์เมรี่. วารสารปัญญาภิวัฒน์ .4(ฉบับพิเศษ พฤษภาคม 2556), 73-85.

Asadi, A. (2010). Prevalence of anxiety and its relationship with self-esteem among Zabol university students, Iran. Educational Research, 5, 140-144.

Azeem, S. M.. (2010). Job satisfaction and organizational commitment among employees in the Sultanate of Oman. Scientific Research, 1, 295-299.

Cherabin, M., Praveena, K. B., Azimi, H. M., Qadimi, A. & Shalmani, R. S. (2012). Self esteem, jobsatisfaction and organizational commitment of faculty members of secondary level teacher training programme in Mysore (India). Life Science Journal, 9(4). 204-214.

Crawford, A. & Hubbard, S. S. (2008). The impact of work-related goals on hospitality industry employee variables. Tourism & HospitalityResearch. 8(2),116-124.

Erdfelder, E. Faul, F., & Buchner, A. (1996). GPOWER: A general power analysis program. Retrieved August 28, 2014, from http://www.psycho.uni-duesseldorf.de/aap/projects/gpower

Gordon, J. R., Mondy, R. W., Sharplin, A. & Premeaux, S. R. (1990). Management and Organizational Behavior. Boston: Allyn and Bacon.

Hewitt, J. P. (2009). Oxford handbook of positive psychology. Oxford: University Press.

Lapointe, E., Vandenberghe,C. & Panaccio, A. (2011). Organizational commitment, organization-based self-esteem, emotional exhaustion and turnover: A conservation of resources perspective. SAGE journal, 64(12), 1609-1631.

Marta, J. K. M., Singhapakdi, A., Lee, D-J., Sirgy, M. J., Koonmee, K. & Virakul, B. (2011). Perception about ethics in situationalization and quality of work life: Thai versus American marketing managers. Journal of Business Research, 21, 2-9.

Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1997). Commitment in the workplace: Theory, research, and application.Thousand Oaks, CA: Sage.

Ogunyemi, A. O. (2014). The mediating roles of organization-based self-esteem (OBSE) and organizational commitment (OC) in spirituality at work and organizational citizenship behavior. International Journal of Innovative, 3(2), 61-71.

Poorgharib, M., Abzari, M. & Azarbayejani, K. (2013). The relationship between self-esteem, organizational attachment, and perceptions of quality of work life in Jahad-e-Keshavarzi organization of Isfahan. International Research Journal of Applied and Basic Sciences. 4(12), 4156-4162.

Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton. New Jersey: Princeton University Press.

Translated Thai References

Chuenboon, A., Loluwiwat, R., Mungsongnern, S., Pochakaparipan, J. & Chongchanil, S. (2013). Factors affecting the happy workplace of personal in Saint Mary Hospital. Panyapiwat Journal.4(Special Issue may 2013), 73-85. [in Thai]

Daengsri, T. (2008). The relationship between quality of work life, organizational commitment and job performance of operational nurse in a well-known public hospital.Master Thesis, Sripatum University. [in Thai]

Juntabal, A. (2010). Factors related to the staff’s commitment of the Sofitel Silom Bangkok Hotel.Master Thesis, Silpakorn University. [in Thai]

Khattiyala, T. (2012). Quality of working life and organizational commitment of the personnel officers in Pasak Subdistrict Administrative Organization, Mueang Lamphun District. Master Thesis, North-Chiang Mai University. [in Thai]

Mekavarakul, W. (2010). The Influence of compensation satisfaction on job satisfaction and organizational commitment in the context of perceptions of justice by hotel employees in the eastern region of Thailand. Ph.D. Thesis, Ramkhamhaeng University. [in Thai]

Metheekasiwat, K. (2012). The relationship between the employees work and organizational engagement and their intention to quit, The hotel Job in Nakornratchasima province.Master Thesis, Suranaree University of Technology. [in Thai]

Prapatsaranon, T. (2009). Factors affecting job satisfaction: a study of employees in four and five-star hotels in Bangkok, Thailand. Master Thesis, Thammasat University. [in Thai]

Prasongthan, S. (2012). Employee engagement: Increasing competitive advantage of Thai hotel industry toward AEC. Retrieved September 11, 2014, from cs.human.ku.ac.th/art_attachments/art55.pdf [in Thai]

Sattayatham, P. (2007). Employee job satisfaction: case of YHS international limited. Master Thesis, National Institute of Development Administration. [in Thai]

Supanapat, R. (2012). A Study of job satisfaction and organizational Centara Grand Bangkok. Master Thesis, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. [in Thai]

Tahoma, P. (2007). Job satisfaction and organizational ties of employees of car repair centers in Phranakhon Si Ayutthaya province. Master Thesis, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. [in Thai]

Technology Promotion Association (Thailand-Japan). (2010). An Analysis of Hotel and Resort Business in 2014. Retrieved September 11, 2014, from http://www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments.pdf [in Thai]

Teesawat, P. (2007). The relationship between self-esteem, motivation and quality of work life of employees in veterans general hospital. Master Thesis, Kasetsart University. [in Thai]

Tintavorn, J. & Samutranon, T. (2010). Relationship between government employees’ self - esteem based on organizational justice perception and organizational citizenship behavior : A case study of legal execution department, Ministry of Justice. Master Thesis, Kasetsart University. [in Thai]

Tourism Council of Thailand. (2014). A Summary of Tourism Situation in 2013 and Forecast for 2014. NEWS RELEASE. Retrieved September 11, 2014, from http://www.thailandtourismcouncil.org/imgadmins/news [in Thai]