การศึกษาปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานและปัจจัยซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Main Article Content

เกวรินทร์ ฉันทนะสุขศิลป์
พิมลมาศ เนตรมัย
กิจปฏิภาณ วัฒนประจักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานและปัจจัยซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งผ่านการฝึกปฏิบัติงาน ณ  สถานประกอบการบริษัท ทรูทัช จำกัด มาแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชั่วโมง จำนวน 45 คน คณะผู้วิจัยได้แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งแบบสอบถามแบบเลือกตอบดังกล่าวประกอบด้วยข้อคำถามสามตอนหลัก คือ ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการของผู้ตอบแบบสอบถาม และทัศนคติปัจจุบันที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีต่อการฝึกปฏิบัติงานที่ผ่านมา และนำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยเพื่อประเมินระดับความสำคัญของปัญหา ในส่วนที่สอง ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการอภิปรายกลุ่มย่อย (Group Discussion) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ด้วยคำถามปลายเปิด และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาความสอดคล้อง ผลการวิจัยเชิงปริมาณบ่งชี้ว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อการฝึกปฏิบัติงาน เกิดจากปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา (ค่าเฉลี่ย 2.85) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพระบุว่านักศึกษามีทัศนคติต่อการฝึกปฏิบัติงานอยู่ในเชิงบวก ปัญหาที่พบจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความเบื่อหน่ายในการทำงาน และความแตกต่างในการบริหารจัดการพนักงานของหัวหน้างาน ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะว่า ควรปรับปรุงกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นใจว่านักศึกษารับทราบวัตถุประสงค์ของการฝึกปฏิบัติงาน และมีการเจรจาเพิ่มเติมกับสถานประกอบการเพื่อจัดหางานที่ใกล้เคียงกับความสามารถของนักศึกษามากที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล และนารีรัตน์ ณ นุวงศ์. (2550). ความพึงพอใจของนายจ้างต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิต วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ปีการศึกษา 2550. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 2(3), 90-100.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman.

Baumeister, R. F. & Bushman, B. J. (2007). Social Psychological and Human Nature. New York: Wadsworth.

Boud, D. & Solomon, N. (2001). Work-based Learning: A New Higher Education?. (1st ed.). Buckingham: Open University Press.

Clark, R. E. (2003). Fostering the Work Motivation of Individuals and Teams. Performance Improvement, 42(3), 21-29.

Eccles, J. & Wigfield, A. (1995). In the Mind of the Actor: The Structure of Adolescents’ Achievement task values and expectancy-related beliefs. Personality andSocial Psychology Bulletin, 21, 215-225.

McIntosh, I. (2009). Sociology, Making Sense of Society. (4thed.). London: Pearson Longman.

McTavish, A. M. & Bayley, V. (2010). Quality and Responding to Employer Needs Demonstrator Project Reports. Institutional Frameworks for Work-Based Learning Assessment. Retrieved October 10, 2014, from https://www. heacademy. ac.uk /sites/ default /files/DemonstratorProjects.pdf

NIOSH Working Group . (1998). Stress at Work. National Institute for Occupational Safety and Health. Retrieved October 10, 2014, from http://www.cdc.gov/niosh/docs/99-101/pdfs/99-101.pdf

Prince, M. J. & Felder, R. M. (2006). Inductive Teaching and Learning Methods: Definitions, Comparison, and Research Bases. Journal of Engineer Education, 95 (2), 123-138.

Robin, S. P. & Judge, T. A. (2013). Organizational Behavior. (15thed.). NJ: Pearson Prentice Hall.

Vaughan, E. (2001). Sociology:The Study of Society. NJ: Pearson Prentice Hall.

Weldon, M. & Richardson, R. (1995). Planning Geography for the Revised National Curriculum: Key Stages One and Two. London: John Murray.

Translated Thai References

Sirivisitkul, S. & Na Nuwong, N. (2007). Satisfactory of Employers toward the Employees Who Graduated from North Bangkok College, Academic Year 2007. Journal of Hematology and Transfusion Medicine, 2(3) 90-100.