ผู้หญิงกับการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ ศึกษากรณีเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบทบาทเพศภาวะของผู้หญิงในการเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำหญิงในวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 12 คน ใน จังหวัดอ่างทอง ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้หญิงเริ่มต้นจากการทำกิจกรรมการเกษตรที่ผู้หญิงสามารถทำได้เอง เช่นการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงหมู ปลูกพืชผักที่สามารถเป็นอาหารในครัวเรือนและขายได้ มีรายได้เข้าบ้านทุกวันพร้อมกับการลดรายจ่ายค่าอาหาร ในด้านการทำนาได้เปลี่ยนมาเป็นเกษตรผสมผสานและเกษตรอินทรีย์ มีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดจากคุ้นเคยการเป็นหนี้ให้เข้ามาสู่วิถีพอเพียง สำหรับคุณลักษณะของผู้นำหญิงนั้น ผู้นำต้องประพฤติตนให้เห็นในวิถีชีวิต ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความไว้วางใจและความสุจริตใจ มีความน่าเชื่อถือด้วยความรู้ความสามารถและอุทิศตนในการถ่ายทอดความรู้ มีความยุติธรรม ไม่เลือกพวกพ้อง มีเหตุผล มีการตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่นในงานที่ทำให้สำเร็จ มีความเปิดเผย มีความจริงใจต่อทีมที่ทำงานร่วมกัน และผู้นำควรได้รับแรงบันดาลใจและการสนับสนุนจากครอบครัว โดยมีข้อเสนอแนะคือ 1. ควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงชีวิตไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง และ 2. ควรยกย่องผู้หญิงในการเป็นผู้นำ ที่สามารถอุ้มชูตนเองและชุมชน
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กังสดาล อยู่เย็น. (2544). พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเอง ศักยภาพในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
ฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2552). เอกสารประกอบการสอน การพัฒนาภาวะผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ไชยันต์ ไชยพร. (2546, 18-24 กรกฎาคม). คนกับโพสต์โมเดิร์น : มนุษย์ที่ไม่สามารถจัดประเภทได้. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์.
ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์. (2557). จริยศาสตร์ของการพัฒนา: บทสำรวจวิวาทะว่าด้วยการพัฒนา. วารสารปัญญา-ภิวัฒน์, 5(2), 278.
ทรงชัย ติยานนท์. (2542). การศึกษาทัศนะของเกษตรกรในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัญญารัตน์ นันติกา. (2551). บทบาทของผู้นำชุมชน ต่อโครงการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านป่าไผ่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่, จ.เชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พระมหาประทีป พรมสิทธิ์. (2545). การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร-มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสรี พงศ์พิชญ์. (2557). ป้อหลวงบ้าน: ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงภาคประชาชน. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2557, จาก http://www.phongphit.com/content/view/81/2
แสงวัน โรจนธรรม. (2549). ผู้หญิงกับการทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตร-มหาบัณฑิต (สตรีศึกษา). สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารีย์ นัยพินิจ. (2557). บทวิจารณ์หนังสือ ธงชัย พรหมสาขา ณ สกลนคร การจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 313.
Draft Richard, L. (1998). Organization theory and design, Cincinnati Ohio: South Western College Press.
Stogdill Ralph, M. (1974). Handbook of Leadership: A survey of theory and research. New York: Free Press.
Tovey, H. (2002). Alternative agriculture movements and rural development cosmologies. International Journal of Sociology of Agriculture and Food, 10(1): 1-11.
Translated Thai References
Chaiyaporn, C. (2003). Man With Postmoder: Undistinguish Human Being” Siamrat Sabda Vijarn Journal, 5(2) 18-24.[in Thai]
Kaewthep, K. & Kaewthep, K. (1987). Self-Reliance in Potential of Urban Development. Bangkok: Catholic Council for Development of Thailand. [in Thai]
Naipinit, A. (2014). An Article of Criticism Book : Managing and Developing Community Enterprise , Songkla Province,Peace study Institution, the author is Tongpol Promsakha na Sakolnokorn (2013). Panyapiwat Journal, 5(2). 312-315. [in Thai]
Nuntika, T. (2008). Role of Community Leadership In Sufficiency Economy Philosophy of Bann Pa- Pai, Doysaked District, Chiangmai Province. Chiangmai: Chiangmai University. [in Thai]
Ongkasing, C. (2003). Textbook for Leadership Development in Society Business and Politics, Bangkok: Rangsit University. [in Thai]
Phra Maha Prateep Promsit. (2002). A Study of Analytical Philosophy on Sufficiency Economy Philosopher. A Thesis for The Master Degree of Philosophy Program of Faculty of Arts, Khonkaen University. [in Thai]
Phongphit, S. (2011). Big Daddy : Strategy of Sufficiency Economy in Citizen sector. Retrieved June 2, 2014, from http://www.phongphit.com/content/view/81/2 [in Thai]
Rojanadham, S. (2006). Woman with securityGuard work. A Thesis for the Master Degree of Woman Study program Of Faculty of Arts, Thammasat University. [in Thai]
Sothiratviroj, N. (2014). The Ethics of Development: A Review on Development Debate. Panyapiwat Journal, 5(2). 274-288. [in Thai]
Tiyanont, T. (1999). A Study of Farmer Attitude for Income Stability through Sufficiency Economy Philosophy. A Thesis for The Master degree of Faculty of Social Administration, Thammasat University. [in Thai]
Yuyen, K. (2001). Bann-Pred Community Dynamic under Sufficiency Economy Philosophy. A Thesis for The Master degree of Faculty of Social Administration, Thammasat University. [in Thai]