ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรม ติดเกมออนไลน์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอผลของการใช้โปรแกรมการควบคุมตนเอง (The Self-Control Program) ต่อพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนักเรียน โดยเปรียบเทียบพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ ก่อนและหลังการใช้ โปรแกรมการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2556 ที่เล่นเกมออนไลน์โดยไม่หยุดพักวันละ 3 ชั่วโมงขึ้นไป และเล่นเกมออนไลน์ 5 วันต่อสัปดาห์ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) การคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และตามความสมัครใจ (Volunteers Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นโปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อปรับพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ ซึ่งมีแบบแผนการทดลองเป็นแบบแบบสลับกลับ A-B-A-B (A-B-A-B Reversal Design) ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ ซึ่งแบ่งการทดลองเป็น 4 ระยะ คือระยะที่ 1 เป็นระยะเส้นฐาน ระยะที่ 2 เป็นระยะทดลองซึ่งเป็นการใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง ระยะที่ 3 เป็นระยะติดตามผลคือหยุดการใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง และระยะที่ 4 เป็นระยะทดลองซึ่งเป็นการใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการทดสอบ ค่า t ( t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า การนำโปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อปรับพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
จารุวรรณ ภัทรจารินกุล. (2551). ผลของการใช้เทคนิคการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนออทิสติกที่เรียนร่วมในโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านหาดใหญ่). สารนิพนธ์ กศม. (การศึกษาพิเศษ), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จีรวรรณ มาทวี. (2548). การศึกษาสาเหตุ ผลสืบเนื่อง และแนวทางในการลดพฤติกรรมติดเกม คอมพิวเตอร์.ปริญญานิพนธ์ กศม. (จิตวิทยาการแนะแนว), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จุฬาสัมพันธ์. (2553).สำรวจสถานการณ์ปัญหาเด็กติดเกมออนไลน์ในกรุงเทพฯ เกือบ 30% เข้าข่ายเสพติดส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ. วารสารจุฬาสัมพันธ์ 53(35), 6.
ปนัดดา ธีระเชื้อ, หรรษา เศรษฐบุปผา และสิริลักษณ์ วรรธนะพงษ์. (2551).ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการดื่มของผู้ติดสุรา. พยาบาลสาร 35(3), 150.
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2536). การปรับพฤติกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รจนา กาแก้ว. (2541). การศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมที่เรียนร่วมกับเด็กปกติระดับก่อนประถมศึกษาจากการใช้วิธีปรับพฤติกรรมแบบควบคุมตนเอง. ปริญญานิพนธ์ กศม. (จิตวิทยาการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์. (2547). การเล่นเกมออนไลน์ของเด็กนักเรียนกับความสัมพันธ์ในครอบครัว. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภัคนิจ วิษณุพงษ์พร. (2552). พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเรียนของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การจัดการสาธารณะ), มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2541). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alberto, P. A. & Troutman, A. C. (1990). Applied Behavior Analysis for Teacher. (3rd ed.). Columbus, Ohio : Meniff Publishing Company.
Cormier, W. H. & Cormier, L. S. (1979). Interviewing Strategies for Helpers: A Guide to Assessment, Treatment and Evaluation. California: Brooks/Cole Publishing Company.
Drabman, R., Spitalnik, R. & O’Leary, K. D. (1973). Teaching Self-Control to Disruptive Children. Journal of Abnormal Psychology. 82(1), 6-10.
Kanfer, F. H. & Phillips, J. S. (1970). Learning Foundations of Behavior Theory. New York: John Wiley & Sons.
Rosenbaum, M. (1990). Learned Resourcefulness: on coping skills, self-control, and adaptive behavior. New York: Springer publishing Company.
Sotthiyaphai, S. (2002). Effect of self-control skills training on self-control behaviors in juvenile delinquents with amphetamine use. Master’s Thesis in Nursing Science, Mahidol University, Nakhonpathom.
Watson, D. L. & Tharp, R. G. (1972). Self-Directed Behavior: Self-Modification for Personal Adjustment.California: Brooks/Cole Publishing Company.
Wilson. G. T. & O’Leary, K. D. (1980). Principles of Behavior Therapy. New Jersey: Prentice-Hall.
TRANSLATED THAI REFERENCES
Chula Weekly. (2010). Explore the issue of children addicted to online games in Bangkok, almost 30% into the drugs adversely affect learning and health. The Journal of Chula Weekly, 53(35). 6. [in Thai]
Iamsupasit, S. (1998). Theories and techniques in behavior. Department of Psychology Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai]
Kakaew, R. (1998). The aggressive behavior of children with behavioral problems at school with normal pre-primary education by using a self-control behavior. Master of Education degree (Educational Psychology). Srinakharinwirot University, Bangkok. [in Thai]
Kerdpitak, P. (1993). The initial behavior. Department of Counseling and Educational Psychology. Srinakharinwirot University, Bangkok. [in Thai]
Matawee, J. (2005). A study of causes and consequences of computer game addiction behavior and strategies in decreasing computer game addiction behavior. Master of Education degree (Guidance and Counseling Phychology). Srinakharinwirot University, Bangkok. [in Thai]
Phattharacharinkun, J. (2008). The effect of self-control technique on aggressive behaviors of children with autism in the inclusive setting tessabarn 2. Master of Education degree (Special Education). Srinakharinwirot University, Bangkok. [in Thai]
Ratanawarang, W. (2004). The game of students with family relationships. Faculty of Social Sciences. Srinakharinwirot University, Bangkok. [in Thai]
Teerachue, P., Sethabouppha, H. & Vadtanapong, S. (2008). Effect of the Self-control Program on drinking behaviors among persons with alcohol dependence. Nursing Journal, 35(3), 150. [in Thai]
Wisanupongporn, S. (2009). Online game behavior junior high school students learning behavior.Master of Education degree (Public Management). Burapha University, Chonburi. [in Thai]