วารสารวิชาการรูปแบบ E-Journal ในโลกดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าบวกกับความคิดสร้างสรรค์ที่เจิดจรัสของมนุษย์ได้เกิดการพัฒนาสิ่งต่างๆ อย่างไม่รู้จบ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย รวมถึงการสื่อสารบนโลกที่พัฒนาแบบไร้พรมแดนเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในการสื่อสาร ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เปลี่ยนรูปแบบจากตัวหนังสือบนกระดาษมาเป็นตัวอักษรดิจิทัลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถดาวน์โหลดมาอ่านบนมือถือและคอมพิวเตอร์ได้ เรียกว่า E-book E-news E-magazine และ E-journal ตามสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท หรือเรียกรวมกันว่า “สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์” (E-publishing)
วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์นับเป็นอีกหนึ่งรูปแบบใหม่ของวารสารในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์สามารถการจัดเก็บบันทึก พิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการไว้บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ ผู้รับสามารถเข้าถึง สืบค้นข้อมูล และติดต่อผลิตวารสารได้ตลอดเวลาตามฐานข้อมูลออนไลน์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีการผลิตวารสารวิชาการและมีความพยายามเผยแพร่วารสารของตนให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด โดยเฉพาะมีการจัดทำวารสารให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละวารสารได้พัฒนาระบบเฉพาะต่างๆ ของแต่ละฉบับ ทั้งนี้เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการใช้เป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสารทางด้านวิชาการระหว่างนักวิชาการกับนักวิชาการ และระหว่างนักวิชาการกับสังคมทั่วไป ซึ่งจะนำเสนอแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ได้จากการศึกษาและค้นคว้าวิจัย นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่เรื่องของการติดต่อสื่อสารเท่านั้นวารสารวิชาการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยในเรื่องของการจัดการที่มีระบบมากยิ่งขึ้น นำความรวดเร็วของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ ซึ่งช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดความฟุ่มเฟือยในการใช้ทรัพยากร และยังสามารถช่วยโลกได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น วารสารวิชาการของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 จึงได้ผลิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า E-Journal เพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานได้มากยิ่งขึ้นทั้งในด้านความสะดวก ความรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดนเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากลของการเผยแพร่ผลงานวิชาการของไทยให้มากขึ้นในอนาคต โดยวารสารปัญญาภิวัฒน์ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 นี้ได้รวบรวมบทความทางวิชาการที่ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในหลากหลายสาขา ผู้อ่านสามารถนำไปเป็นแนวทางและปรับใช้กับชีวิตประจำวัน การทำงานและพัฒนาธุรกิจหรือหน่วยงานได้
กองบรรณาธิการ วารสารปัญญาภิวัฒน์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะช่วยเป็นแรงบันดาลใจในการมุ่งพัฒนาเผยแพร่ผลงานวิชาการของประเทศให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างก้าวไกล และสามารถเป็นแหล่งข้อมูล รวบรวมองค์ความรู้ที่หลากหลาย อันจะนำพาให้ผู้อ่านสร้างสรรค์และพัฒนาตนเอง สังคมและประเทศได้อย่างสืบไป
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”