พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

นันทิตา เพชราภรณ์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของงานวิจัย มีดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวในเกาะเกร็ด จำแนกตามพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ผลการวิจัย พบว่า

          1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักเกาะเกร็ดจากวารสารการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเพื่อศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตเป็นสถานที่ที่ต้องการเข้ามาเที่ยวมากที่สุด โดยเดินทางมากับครอบครัวหรือญาติๆ และมีการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยวระหว่าง 1,001-1,500 บาท ใช้จ่ายเป็นค่าของฝาก/ของที่ระลึก และรับทราบข่าวสารกิจกรรมการท่องเที่ยวผ่านทางอินเทอร์เน็ต 2) ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ รายได้ และสถานภาพแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในการเข้ามาท่องเที่ยวด้านสถานที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และสถานภาพแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในการเข้ามาท่องเที่ยวด้านการบริการและความปลอดภัย และด้านอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน 4) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำแนกตามพฤติกรรม พบว่า การจัดสรรค่าใช้จ่ายและลักษณะการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในการเข้ามาท่องเที่ยวด้านสถานที่และด้านการบริการและความปลอดภัยแตกต่างกัน สถานที่ที่ต้องการท่องเที่ยว การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว การจัดสรรค่าใช้จ่าย และลักษณะการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในการเข้ามาท่องเที่ยวด้านการอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน

 

          The objectives of this research were: (1) to study the behavior of Thai tourists on visiting Kret Island, (2) to study the level of Thai tourists’ satisfaction on visiting Kret Island, (3) to compare the level of Thai tourists’ satisfaction on visiting Kret Island classified by individual’s factors and (4) to compare the level of Thai tourist’ satisfaction on visiting Kret Island classified by tourists’ behavior. The sample consisted of 385 Thai tourists. The research instruments were questionnaires. Statistics for data analyses were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. Research findings were as follows:

          1) Most of the Thai tourists received their information from tourism journals. The most attractive spot of Thai tourists was location for studying the way of life. Most of them came with their family or relatives. The budget allocation of visiting was around 1,001-1,500 Baht. Their money was spent on souvenirs. Also, most of the tourists received the information of Kret Island’s activities on the internet. 2) The overall level of the satisfaction of tourists visiting Kret Island was at a high level. 3) The Thai tourists’ satisfaction level visiting Kret Island differed according to their gender, age, income, and status. They had different satisfaction levels regarding the location. Tourists with different gender, age, education background, income, and status had different satisfaction levels regarding service and safety. Also, tourists with different gender, age, education background, income and status had different satisfaction levels regarding facility. 4) The comparison of the Thai tourists’ satisfaction level visiting Kret Island classified by tourists’ behavior. It was found that tourists’ budget allocation and expenses were different. They had different satisfaction levels of visiting regarding location, service, and safety. Also, the location, the traveling, the budget allocation, and the tourist’s expenses were different. They had different satisfaction levels of visiting regarding facility.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณิชชิศา จันทรมาลา. (2553). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด ตําบลเกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.อินเตอร์ พริ้นท์ จํากัด.

ศิริกุล ผ่องบํารุงวงค์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

สรีจิตรา ฤกษ์บ่าย. (2550). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรุณี ธรรมคุณ. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะเกร็ด อําเภอเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Translated Thai References

Jantramala, N. (2010). Expectation and Satisfaction of Consumers Towards Tourism Management case study on Tourism in ko kret, Tumbon Ko Kret, Pak Kret District, Nonthaburi Province. Master of Business Administration, Silpakorn University. [in Thai]

Phongbumrungwong, S. (2007). The factor Influencing the Decision of Domestic Tourism to Visit Koh Kret, Nonthaburi. Master of Business Administration, Kasembundit University.

Rerkbai, S. (2007). Tourist's Opinions on the Management of Koh Kret tourism, Nonthaburi province.Master of Science degree in Recreation Management, Srinakharinwirot University. [in Thai]

Silpcharu, T. (2005). Research and statistical analysis with SPSS. Bangkok: V Inter Print Co.,Ltd. [in Thai]

Thammakun, A. (2007). Factors Affecting The Satisfaction of Tourists Regarding Tourism Management at Koh Kret Community, Pak Kret District, Nonthaburi Province. Master of Arts, Ramkhamhaeng University. [in Thai]