กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมของธุรกิจค้าปลีก เพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเตรียมความพร้อมของธุรกิจค้าปลีกเพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 จากกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน 17 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquatile Range) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป มีผลการวิจัยพบว่าใน 4 ประเด็นเนื้อหาได้แก่ (1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ควรพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้เหมาะกับสภาพของตลาด รสนิยมของผู้บริโภค ควรพัฒนาเครื่องจักร เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต และการสร้าง Packaging ให้ทันสมัย (2) กลยุทธ์ด้านราคา ควรกำหนดราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า การลดต้นทุนการผลิตสินค้า การปรับราคาของสินค้าให้เหมาะสมในแต่ละตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคาให้เป็นมาตรฐาน และไม่ควรกำหนดราคาให้สูงจนเกินไป (3) กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ควรมีการกระจายสินค้าให้ทั่วถึงอย่างรวดเร็ว ควรมีการวางแผนการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมสามารถแข่งขันในตลาดได้ การบริหารจัดการคลังสินค้า การเพิ่มช่องทางการติดต่อการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และควรมีสาขาตามเมืองใหญ่ๆ ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน (4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด ควรเน้นการสร้าง Brand ให้เป็นที่รู้จักและสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าการทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ และการโฆษณาที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้นและควรทำอย่างต่อเนื่อง
This research aimed to develop a strategy to prepare the retail business for attending the ASEAN Economic Community by 2558. The samples comprised 17 person who retail business manager. Delphi technique method used, the instrument was a rating scale questionnaire and interview, to obtain the data were analyzed by means, standard deviation, Median, and Interquatile Range. The results of the study were as follows: 1) Products and services strategic: Should be improving to high quality of the products and to suit for marketing situations, tastes of consumer, production technology and equipment, and modern packaging. 2) Pricing strategy: Setting up the right price on the right products, to reduce the cost of manufacturing, setting the price to fit its products quality and position, and to set the standard prices especially not too high. 3) Distribution channels or place strategic: to support the distribution of products suddenly and throughout to the market. A good planning of the marketing distribution be proper to a competitive market, warehouse management, the entrepreneur increase of distribution channel, partnership and more branches office set up on the regional neighbors. 4) Promotion Strategic: Brand building base on to be known and confidence among customers, sale promotion activities, public relations, and more universal advertising was continued.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
จีรวรรณ ฉัตรกุล ณ อยุธยา. (2553). ขีดความสามารถในการแข่งขันของร้านค้าปลีกรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์สาขาวิชาบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวัดผลและวิจัย การศึกษาคณะศึกษา- ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552).คู่มือการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. นนทบุรี: โรงพิมพ์นิด้าการพิมพ์.
พงศา นวมครุฑ. (2544). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการค้าปลีกของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ที่มีผลต่อการซื้อของผู้บริโภค. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พงษ์พิชัย รัชดานุวัฒน์. (2554). แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมข้าวไทยเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยใช้เทคนิคเดลฟาย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557).สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถนนสู่ AEC เพื่อ SMEs ไทย. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2558, จาก http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=141124133526
Chatrkun na Ayudhya, J. (2010). Competitiveness of small retailers in Chiang Mai. Thesis Administration, Maejo University. [in Thai]
Institute of medium and small industries. (2011). The Federation of Thai Industries road of AEC Thailand to SMEs. Retrieved October 30, 2015,from http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=141124133526 [in Thai]
Nuamkrut, P. (2001). Factors retail mix of large retailers in the province Chiang Mai that affect consumer buying. Chiang Mai. MBA (Master of Business Administration), Chiang Mai Rajabhat University. [in Thai]
Ratchadanuvat, P. (2011). Approaches to increase the competitiveness of the rice industry in Thailand for the ASEAN Economic Community (AEC) using the Delphi technique. Thesis Master of Business Administration, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai]
Serirat, S. et al. (2003). Management Marketing modern age.Revised edition. Bangkok: Tumasan Publishing. [in Thai]
Silpcharu, T. (2009). Manual Research and statistical analysis with SPSS. Nonthaburi: Nida printing. [in Thai]
Wongrattana, C. (2001). Using statistical techniques for research. Bangkok: Evaluation and Research Department the Faculty of Education, Srinakharinwirot University. [in Thai]