ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารวิชาการ ศึกษาตัวแปรระดับนักศึกษา ระดับห้องเรียน และระดับมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา แบ่งเป็น 3 ระดับ คือระดับระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 120 คน ระดับห้องเรียน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 480 คน ระดับนักศึกษา ได้แก่ นักศึกษาปีที่ 4-5 จำนวน 960 คน รวม 1,560 คน ที่ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 3 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมทางสถิติในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม HLM ในการวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทยอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยระดับนักศึกษา พบว่า พฤติกรรมด้านการเรียนของนักศึกษา ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมทางด้านสังคมกับกลุ่มเพื่อน และความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยระดับห้องเรียน พบว่า พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ปัจจัยระดับมหาวิทยาลัย พบว่า พฤติกรรมการบริหารด้านการเป็นผู้นำส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขณะที่ประสบการณ์ทางการบริหารมีอิทธิพลทางลบต่อค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของพฤติกรรมสอนของอาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเป็นผู้นำทางวิชาการส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของพฤติกรรมสอนของอาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to investigate the academic administrative effectiveness from the student level, classroom level and university level factors which affected the effectiveness of academic administration of Rajabhat University administrators in Thailand.
The sample, derived by means of multi-stage random sampling, into 3 groups from Rajabhat University in Thailand, consisted of 120 university administrators, 480 instructors, 960 students, 1560 people in Total. Data were collected by 3 types of questionnaires and analyzed through the descriptive statistics and HLM for multi – level analysis programs.
The research findings were as follows:
1. The academic administrative effectiveness of Rajabhat university administrators in Thailand was ranked at the high level.
2. From the student level factors, the study found that student learning behaviors influenced the academic administrative effectiveness, statistically significant at.01 level and
socialization among Peer groups and the relationship among members of family influenced the academic administrative effectiveness, statistically significant at.05 level.
3. From the classrooms level factors, the study found that teaching behaviors of teachers influenced the academic administrative effectiveness, statistically significant at.05 level.
4. From the university level factors, the study found that leadership behaviors influenced the academic administrative effectiveness, statistically significant at .01 level. While administrative experience had negatively influenced the regression coefficient of teaching behaviors statistically significant at .05 level and academic leadership influenced the regression coefficient of teaching behaviors statistically significant at .05 level.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นริศ สวัสดี (2550). การวิเคราะห์พหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของสาขาวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันราชภัฎ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภาวิช ทองโรจน์ (2550). สภาสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2557, จาก http://heaven.dusit.ac.th/Course1/standard/No.3
รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พอยท์ จำกัด.
สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2540). การวิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับของ Path Model. วารสารวัดผลการศึกษา, 16(48), 57-73.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Translated Thai References
Boonraengrut, S. (1998). Multilevel Analysis of Path Model. Journal of Educational Measurement, 16(48), 57-73. [in Thai]
Poosara, R. & Sa-nguannam, J. (2002). The curriculum in schools. Bangkok: Point Limited. [in Thai]
Savasdee, N. (2007). Multilevel Analysis of the variables that influence the effectiveness of schools.Ph.D. thesis, Burapa University.[in Thai]
Sod-aium, P. (2004). Factors influencing the effectiveness of management’s academic majors.Ph.D. thesis studies, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Thongrot, P. (2007). The development of higher education institutions. Retrieved July 12, 2014, from http://heaven.dusit.ac.th/Course1/standard/No.3 [in Thai]
Viratchai, N. (1999). Model LISREL: statistical analysis for research (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]