แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะด้าน IT สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ 2) หาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้าน IT ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูล ความบันเทิง เพิ่มเติมความรู้ และผ่อนคลายความเครียด ตามลำดับ ส่วนอุปกรณ์ที่นักศึกษานิยมใช้ คือ โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และแท็บเล็ต ตามลำดับ และมักใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัย
2. สมรรถนะด้าน IT ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษามีสมรรถนะด้านการสื่อสาร ด้านการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการประเมินผล ด้านการจัดการสารสนเทศ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และด้านการบูรณาการอยู่ในระดับมาก (X = 3.97, 3.82, 3.76, 3.74, 3.56, 3.53 ตามลำดับ) ส่วนด้านการสร้างสรรค์สารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.25)
3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้าน IT ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต คือ “IT Competency of SDU Guidelines” ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย หลักสูตรต่างๆ และอาจารย์ผู้สอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
The objectives of this research were to 1) study IT competency for students of Suan Dusit University and 2) find IT competency development guidelines of Suan Dusit University. This research is mixed method, quantitative and qualitative. The samples of this research were 365 students. Data-gathering instruments were questionnaires, depth interviews and focus group form. Percentage, mean and standard deviation were adopted for data analysis.
Research results were as follows:
1) Behaviors of students using IT were to communicate, search, entertain, search for knowledge and relax, respectively. Moreover, they used Notebook, Smart Phone, Personal Computer (PC) and Tablet, respectively. Most students used the internet via a wireless network of the university.
2) The overall result of the information technology competencies of students were in high level (X = 3.66). Competencies of communication, using digital tools, evaluation, information management, information access, and information integration were in high level (X = 3.97, 3.82, 3.76, 3.74, 3.56, and 3.53, respectively) but competencies of information creation were in medium level (X = 3.25).
3) IT competency development guidelines for SDU students is “IT Competency of SDU Guidelines” by requires cooperation from the university, programs and lecturers of Information Technology Subject.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2552). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556.สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.mict.go.th
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2557). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2558, จาก http://edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/6.pdf
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. เมทณี ระดาบุตร และคณะ. (2554). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยบริการ, 22(1), 109-116.
วิลาวัลย์ สมยาโรน และดิเรก ธีระภูธร. (2558). การพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(3), 239-250.
สายฝน เป้าพะเนา. (2554). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรรถพล จันทร์สมุด และณมน จีรังสุวรรณ. (2555). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ของนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบแฟชั่น. วารสารศรีวนาลัยวิจัย,3(5), 1-10.
Brown, C. M. (1999). Information Literacy of Physical Graduate Students in the Information Age. College & Research Libraries, 60(5), 426-438.
Commission on Information and Communication Technology. (2010). National ICT Competency Standard (NICS) Basic.Retrieved May 20, 2013, from http//www.ncc.gov.ph http//www.ncc.gov.ph/nics/files/NICS-Basic.pdf
Hilberg, J. S. (2008). Assessing undergraduate students. Wilmington College (Delaware) United Staes. Retrieved February 20, 2013, from http://Proquest.umi.com
Katz, I. R. & Macklin, A.S. (2007). Information and Communication Technology (ICT) Literacy: Integration and Assessment in Higher Education. Retrieved February 20, 2013, from http://www.iiisci.org /Journal/CV$/sci/pdfs/p890541.pdf
Nash, J. (2009). Computer skills of first-year students at a South African university. In Proceedings of the 2009 Annual Conference of the Southern African Computer Lecturers’ Association (SACLA ‘09). ACM, New York, NY, USA, 88-92.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Translated Thai References
Junsamud, A. & Jeerungsuwan, N. (2012). Using Information Technology for competencies Student to study in Computer Program Aided Design for Fashion. Journal of Srivanalia,3(5), 1-10. [in Thai]
Malithong, K. (2005). ICT for Education. Bangkok: Aroon Printing. [in Thai]
Ministry of Information and Communication Technology. (2009). The Second Thailand Information and Communication Technology (ICT) Master Plan (2009-2013).Retrieved February 20, 2014, from http://www.mict.go.th [in Thai]
Paophanao, S. (2011). The Study of Information Technology and Communication Competencies for Learning of Undergraduate Students in Rajamangala University of Technology Rattanakosin Wangkraikangwon Campus. Master of Education Department of Educational Technology, Silapakorn University. [in Thai]
Phuangsomchit, C. (2014). Participatory Action Research. Retrieved November 28, 2015, from http://edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/6.pdf [in Thai]
Radabud, M. et al. (2011). Information Technology Competencies of Students, College of Nursing, Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. Academic Resources, 22(1), 109-116. [in Thai]
Somyaron, W. & Teeraputon, D. (2015). The Development of Information and Communication Technology Strategy Plan for Autonomous University. Panyapiwat Journal, 7(3), 239-250. [in Thai]
Srisa-ard, B. (2011). Preliminary research (9nd ed.). Bangkok: Suveeriyasarn. [in Thai]