ยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล

Main Article Content

ประภาส ไชยมี

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาพอเพียง 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล 3) เพื่อประเมินยุทธศาสตร์บริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ระยะที่ 1 มีจำนวน 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหายุทธศาสตร์การบริหาร ในสถานศึกษาพอเพียง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู รวมเป็น 246 คน กลุ่มที่ 2 การศึกษากรณีศึกษาจากโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ จำนวน 3 โรงเรียน ระยะที่ 2 การสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล เป็นการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ระยะที่ 3 ประเมินยุทธศาสตร์บริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล เป็นการประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบประเมินยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  

          1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาพอเพียง พบว่า สถานศึกษาพอเพียงส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ส่วนปัญหารองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการและด้านการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ พบว่า สถานศึกษามีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดเป็นนโยบาย การวางแผน การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

          2. ในการสร้างยุทธศาสตร์การบริหารในสถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ (1) ยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษา เน้นการกำหนดนโยบาย การวางแผน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วม (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เน้นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ (3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาหลักสูตรและการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และ (4) ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เน้นการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  

          3. ด้านการประเมินยุทธศาสตร์บริหารสถานศึกษาพอเพียง พบว่า ในด้านการกำหนดวิสัยทัศน์            พันธกิจ เป้าประสงค์ และประเด็นยุทธศาสตร์ มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยการกำหนดวิสัยทัศน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความเป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์ แยกเป็นรายด้านทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ พบว่า ยุทธศาสตร์บริหารสถานศึกษา มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

            The objectives of this research were to 1) study the current states, problems and the means for administering sufficiency schools; 2) construct the strategies for administering sufficiency schools;  and  3) evaluate the constructed strategies.  In Phase 1, the sample consisted of 2 groups:  246 school administrators and teacher representatives, two selected representatives from each school and   3 selected outstanding schools. In Phase 2, creation of the strategies done through a focus group of 20 experts was conducted. In Phase 3, the evaluation of the congruence, suitability, possibility and utility of the created strategies using 100 experts was operated. The research instruments included a survey questionnaire, an interview, a focus-group discussion and its record form, a synthesis form, and   strategy evaluation form. Means and standard deviation were used in quantitative data analysis and content analysis   was employed in qualitative data analysis.                                                               The research findings were as follows:                                                                                    1. The results of the study of current states, problems and the means for administering sufficiency schools showed that curriculum development and teaching were mostly problematic, followed by the administration and personnel development follow-up. In terms of the means for administering study, it was found that strategies included application of sufficiency economy philosophy in their policies, planning, teacher and personnel development, curriculum and learning and teaching development, student development activities.          2. The construct of strategies for administering sufficiency schools yielded 4 strategies: (1) administrative strategy focused on participation in key policy through planning; (2) teacher and personnel development strategy focused on application of the philosophy to their life and duty performance; (3) curriculum and learning and teaching development focused on the curriculum development and learning units; and (4) student activity development strategy focused on providing various activities.           3. The evaluation of created strategies revealed that the vision, missions, objectives, and strategy aspects were received as the most suitable possible and utility in all aspects. Looking at the suitability, possibility, and utility of the individual strategies, the following was derived. The administrative strategy yielded the mean score of the suitability of the administrative strategy at the highest level while the possibility and utility at a higher level. The teacher and personnel development strategy and the curriculum learning and teaching development strategy were found to be at a higher level for all attributes. The student activity development strategy yielded mean score at a higher level for the suitability and possibility while the utility was at the highest level.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา(2550-2554).กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักกิจการพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ.

________. (2555). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง“สถานศึกษาพอเพียง2554”. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2557, จาก http://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/33103-7117.pdf.

________ (2556). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง“สถานศึกษาพอเพียง2555”(รอบ2). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2557, จาก http://www.obec.go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/ 37458/420054.pdf.

________(2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(สถานศึกษาพอเพียง)ประจำปี2556. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2557, จาก http://www.skp.moe.go.th/home/file_drug/school-porpeang_2556.pdf

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร และมนัส โกมลฑา. (2549). การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐที่มีผลต่อเศรษฐกิจพอเพียง.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝ่ายชุมชนและสังคม: ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. (2553). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

จารุณี วงศ์ละคร. (2551). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏในภาษิตล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2543). “การบริหารผลการดำเนินงาน(Performance Management)”รวมบทความวิชาการ100ปีรัฐประศาสนศาสตร์ไทย. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด และสุริทอง ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปภาภัทร อัครางกูร. (2554). โครงการการพยากรณ์ผลกระทบภายนอกที่มีต่อเศรษฐกิจของไทยและการเสนอแนะเชิงนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประยงค์ แก่นลา. (2552). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปราโมทย์ ศิลปะศาสตร์. (2553). การรับรู้และตีความเศรษฐกิจพอเพียงในมโนทัศน์ของชาวอีสาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2552). เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

สถาบันไทยพัฒน์ สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2551). เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย.

สมพร เทพสิทธา. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). นโยบายสพฐ.ปี2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). เอกสารสรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2554, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p9/intro2.doc

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรมหลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี พงศ์พิศ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงคิดให้ได้ทำให้ดี. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2554, จาก http://www.phongphit.com/2013/index.php/2012-12-06-11-51-50/item/156

อรรถพล อนันตวรสกุล. (2552). การสังเคราะห์และนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอนงค์ ดุมนิล. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์,9(2), 100.

อังคณา ตุงคะสมิต และคณะ. (2554). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. Veridian E-Journal,4(2), 295-296.

อุษามาศ ธเนศานนท์. (2555). รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนางานโรงเรียนอนุบาลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา,6(1), 52-55.

Kahl, D. H. Jr. (2008).Action Research:Student Voice Evaluates High School Communication Curriculum. North Dakota State: University of Agriculture and Applied Science.

Park, J. E. (1997). A case Study Analysis of Strategic Planning in Continuing Education Organization.Dissertation Abstracts International.

Thomson, A. A. & Strickland, A. J. (1995). Strategic Management Concept and Cases(8th ed.). New York: Irwin.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Translated Thai References

Akkarangkul, P. (2011). Prediction of external impacts on Thai economy and policy proposal on Sufficiency Economy. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]

Anunthavorasakul, A. (2006). Synthesize the lesson learned of learning management in Sufficiency Economy Affiliate School. Bangkok: Research and Development Center on Education for Sustainable Development Innovations, Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]

Bunyarattanasunthorn, J. & Komoltha, M. (2006). Collecting and Analyzing Basic Information about the Policy of the State that affect the Sufficiency Economy. Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]

Doomnil, O. (2014). Management of Education According to the Sufficiency Economy Philosophy According to the Opinions of Teachers under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 4. Journal of Graduate School,Pitchayatat,9(2), 97-103. [in Thai]

Kaenla, P. (2009). The Model of Community Participation in School Management Utilizing Sufficiency Economy Philosophy. Doctoral Dissertation of Education Degree in Educational Administration, Graduate School Rajabhat Ubon Ratchathani University. [in Thai]

Ministry of Education. (2007). Strategy for To wards Sufficiency Economy Philosophy Based School(2007-2011). Bangkok: Project operations due to Special Affairs Bureau of education initiative Promotion. [in Thai]

________.(2012). The Ministry of Education’s Announcement: The Sufficiency Economy Philosophy School,“Sufficient School 2011”. Retrieved December 24, 2014, from http://www.moe.go.th/moe/upload/news 20/FileUpload/33103-7117.pdf [in Thai]

________. (2013). The Ministry of Education’s Announcement: The Sufficiency Economy Philosophy School , “Sufficient School 2012”. Retrieved December 24, 2014, from http://www.obec.go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/37458/420054.pdf [in Thai]

________. (2014). The Ministry of Education’s Announcement: The Sufficiency Economy Philosophy School,“ Sufficient School 2013”. Retrieved December 24, 2014, from http://www.obec.go.th/sites/obec.go.th/files/document/attachment/37458/420054.pdf [in Thai]

Office of Basic education Commission. (2008). OBEC Policy 2008. Bangkok: Office of Basic education Commission. [in Thai]

Office of the National Economics and Social Development Board. (2005). The Essence Summarizes of Economy and Social Development Plan Vol 9. Retrieved August 14, 2011, from http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p9/intro2.doc [in Thai]

Phiboolsarawut, P. (2009). To wards Sufficiency Based School. Bangkok: Research sufficiency economy Bureau of the Crown property. [in Thai]

Phongphit, S. (2006). Sufficiency economy to make good. Retrieved December 24, 2011, from http://www.phongphit.com/2013/index.php/2012-12-06-11-51-50/item/156 [in Thai]

Sillapasart, P. (2010). Perception and Interpretation of Sufficiency Economy in the Perspective of I-San People. Doctoral Dissertation of Philosophy Program in Regional Development Strategies, Graduate School Rajabhat Ubon Ratchathani University. [in Thai]

Sirisumpan, T. (2000). “Performance Management”Includes academic articles,100 years of Public Administration,Thailand. Department of Public Administration Faculty of Political Science, Chulalongkorn University. [in Thai]

Srisa-art, B. & Srisa-art, S. (2009). The Research about Management Education. Bangkok: Suveriyasarn. [in Thai]

Tantivejkul, S. (2006). The Main Principles to Follow His Majesty the King (15th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Thaipat Institute Rural and Social Management Institute and Thailand Research Fund. (2008). Sufficiency Economy in Global View(5th ed.). Bangkok: Total Access Communication and Toyota Motor Thailand. [in Thai]

Thanesanon, U. (2012). Participatory action research on model of sufficiency economy administration of Bantonkla kindergarten school, Chon Buri Province. Journal of Educational Administration Burapha University,6(1),52-55. [in Thai]

Thepsittha, S. (2005). Sufficiency economy across the initiative. Bangkok: Thamsan. [in Thai]

Tungkasamit,A. et al. (2011). The development of an Sufficiency Economy Philosophy instruction process. Veridian E-Journal,4(2), 295-296. [in Thai]

Wichaakarawit, C. (2010). Model of Basic School Administration on Highland Basedon The Philosophy of Sufficiency Economy in Chiangmai and Maehongsorn Province. Chiang Mai: Chiang Mai University by support from the National Research Council of Thailand (NRCT).

Wonglakorn, J. (2008). Philosophy of the Sufficiency Economy in Lanna proverbs. Chiang Mai: Chiang Mai University.