การรู้เท่าทันสื่อ : ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ
นพมาศ ปลัดกอง
อังคณา ศิริอำพันธ์กุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 2) ศึกษาประโยชน์ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 3) ศึกษาการนำไปใช้ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่เรียนเกี่ยวกับ “การรู้เท่าทันสื่อ” ในรายวิชาศึกษาทั่วไป ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายปิด และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ชั้นปีที่ 3 และเรียนเกี่ยวกับ “การรู้เท่าทันสื่อ” ในรายวิชาของหมวดศึกษาทั่วไป ผลการวิจัย 1) ประโยชน์ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา ด้านความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถเข้าใจได้ว่า ดาราที่เห็นกันว่าสวย หุ่นและผิวพรรณดี แต่งกายมีรสนิยมในรายการ/ละครโทรทัศน์นั้น ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะการที่ดาราดูดีได้เป็นผลจากการเทคนิคทางด้านภาพต่างๆ เข้ามาช่วยได้เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ความเข้าใจว่าหลังจากดูละคร/ภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามการต่อสู้ของ 2 ชนชาติ การที่ชาติอีกชาติหนึ่งถูกสร้างให้เป็นวีรบุรุษ ทำแต่สิ่งดีงาม และอีกชาติหนึ่งถูกสร้างเป็นศัตรู ทำแต่สิ่งชั่วร้ายนั้นเป็นผลจากการสร้างความหมายของสื่อ ส่วนประเด็นด้านความเข้าใจในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน นักศึกษาตีความหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างความหมายผ่านเนื้อหาข่าวสารในสื่อได้เป็นอันดับแรก จากนั้นสามารถอธิบายได้ว่าเนื้อหาข่าวสารที่สื่อผลิตขึ้นนั้นมีนัยทางธุรกิจการค้าแอบแฝงอยู่ สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก จะเห็นได้ว่า นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อต้องมีอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักศึกษาเคารพและยอมรับในความแตกต่างกันของบุคคล ทั้งในด้านเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ถิ่นที่อยู่ และความแตกต่างทางวัฒนธรรมอื่นๆ อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน 2) การนำไปใช้ในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ลำดับแรก เมื่อนักศึกษาได้รับมอบหมายให้ทำรายงาน ในการแสวงหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต นักศึกษาจะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่หลากหลาย แต่จะไม่เชื่อข้อมูลที่พบในทันทีต้องตรวจสอบก่อนว่าเว็บไซต์นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ ผู้เขียนเป็นใคร สารนั้นตรงกับความต้องการของนักศึกษาหรือไม่ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ในลำดับถัดมา นักศึกษาจะผลิตเนื้อหาข่าวสารและสื่อที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน สถานศึกษา หรือสังคมที่นักศึกษาอยู่ ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากเช่นกัน        

 

          The research objectives are; (1) studying the level of media literacy of Panyapiwat Institute of Management students, (2) studying the student’s actualization toward the advantage of media and (3) studying the students’ tendency to implement the knowledge of media literacy in their lives. The population or the sample group is 97 students who study media literacy as topics of one general education subject in the first term of academic year. A questionnaire is used as the research tool. The data are analyzed to be descriptive statistics, which is frequency, percentage, mean, and standard deviation.  

           The results are as follows: most of the students are junior (a third-year student), female students who all study media literacy as a general education subject. The following findings according to the first objective are 1) For the student’s usage of media literacy, the knowledge about Media Literacy is average level and most of them are well aware of the fact that the actors we see in TV shows looked slim and had beautiful skin. They are fashionable. In fact, in their real life, some of them may not look like on the television screen. It is largely due to camera techniques and editions. The second one is the students realize that after watching series/film of ethnic war and these media can indicate which nation is hero or enermy. Good or bad meaning is created by media. For the student’s comprehension of media literacy, the students start by analyzing and determining the meanings and symbols used to deliver the information via the media creation. Then they can describe that the information created by the media is also the hidden meaning of business messages. Moreover, in case of usage of media literacy, the first priortity is media staffs should emphasize on ethics. Then the students respect the difference among nationality, religious, race, place, culture which all are in the most level, as well. According to the second objective, the way that students apply media literacy for their life is mostly when the teacher gives a report assignment. They will search for information from various sources. However, they don't trust the information one-hundred percentage but they will investigate either if that website is dependable or not, who is the author, if this information meets the need or not, etc. Then the most students will create message contents and media that are beneficial for community, educational institute or society. This is in the high level, as well.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่องการสื่อสารชุมชน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

โตมร อภิวันทนากร. (2552). คิดอ่านปฏิบัติการเท่าทันสื่อคู่มือสำหรับจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้ทันสื่อ. กรุงเทพฯ: แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). 100เรื่องน่ารู้ผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สุภาณี แก้วมณี. (2547).การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อหนังสือพิมพ์:กรณีศึกษานักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2549). เปิดประตูสู่การรู้เท่าทันสื่อ:แนวคิดทฤษฎีและประสบการณ์การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ.

Aufderheide, P. (1992). Media Literacy. A Report of the National Leadership. Conference on Media Literacy, December 7-9. Queentown: MD.

Buckingham, D., Banaji, S., Burn, A., Carr, D., Cranmer, S. & Willett, R. (2005). The Media Literacy of Children and Young People: A review of the research literature on behalf of Ofcom. Retrieved May 2, 2015, from http://stakeholders.ofcom.org.uk/binaries/research/media-literacy/ml_children.pdf

Considine, D., Horton, J. & Moorman, G. (2009). Teaching and Reading the Millennial Generation Through Media Literacy. Journal of Adolescent&Adult Literacy,52(6), 471-481.

Hobbs, R. (2010). Digital and Media Literacy: A Plan of Action. Retrieved May 2, 2015, from http://www.knightcomm.org/wp-content/uploads/2010/12/Digital_and_Media_Literacy_A_Plan_of_Action.pdf

Potter, W. J. (2004). Theory of media literacy: A Cognitive approach. California USA: Sage Publications.Potter, W. J. (2014). Media Literacy (7th ed.). London: Sage.

Silverblatt, A. & Eliceiri, E. M. E. (1997). Dictionary of Media Literacy. Westport, Conn: Greenwood Press.

Silverblatt, A. (1995). Media Literacy: Key to Interpreting Media Messages. Westport, CT: Praeger.

Thoman, E. & Jolls, T. (2003). Literacy For the 21 st Century :An Overview & Orientation Guide To Media Literacy Education. Retrieved August 6, 2015, from http://www.medialit.org/sites/default/files/01_MLKorientation.pdf

Wan, G. & Cheng, H. (2004). The Media-Savvy:Teaching Media Literacy Skills Grade2-6. Illinois: Zephyr Prees.

Translated Thai References

Apiwanthanakorn, T. (2009). Consideration Media Literacy Practice;Manual of Learning Process and Activity for Youth Media Literacy. Bangkok: Plan for Child Media Happiness, Thai Health. [in Thai]

Janroongmaneekoon, U. (2006). Lift up the Media Literacy Curtain.Open Gateto Media Literacy: Media Literacy in Conceptual Theory and Experiences on Health. Nonthaburi: Media for Health Project. [in Thai]

Kaewmanee, S. (2004). Studying of Newspaper Literacy: Case Study of University Students in Bangkok. Thesis for Master-degree, Thammasat University. [in Thai]

Kaewthep, K. (2001). Science of Media and Cultural Studies. Bangkok: Adison Press Product. [in Thai]

Kaewthep, K. (2008).Basic Knowledge Management in Community Communication. Bangkok: Parbpim Printing. [in Thai]

Office of National Broadcasting and Telecommunication Commission. (2013). 100 Interesting Stories about Telecommunication Consumer.Bangkok: Office of National Broadcasting and Telecommunication Commission. [in Thai]