ความกลัวที่ส่งผลต่อการแสดงอวัจนสารอันไม่พึงประสงค์ต่อการพูดในที่สาธารณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับอวัจนสารอันไม่พึงประสงค์ที่แสดงออกมาเมื่อมนุษย์เกิดความกลัวการพูดใน
ที่สาธารณะ ซึ่งความกลัวการพูดดังกล่าวนี้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อต้องพูดต่อหน้าคนหมู่มาก พบได้บ่อยครั้งในคนทั่วไป เมื่อเกิดอาการตื่นเวที มักจะเริ่มจากการประหม่า จากนั้นจึงวิตกกังวล ซึ่งถ้าเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ควบคุมได้ จะทำให้การพูดดำเนินไปได้อย่างดี แต่ถ้าเริ่มมากขึ้นจนวิตกจริต และเข้าสู่ขั้นตื่นเวทีหรือกลัว ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงมากขึ้นจนควบคุมได้ยาก จะทำให้ส่งผลเสียต่อการพูด โดยทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกมีความเชื่อว่า หากคนเราเคยเรียนรู้ประสบการณ์ที่ไม่ดีมาก่อน จะทำให้เกิดความกลัวขึ้นได้เมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์คล้ายสิ่งเดิม จนปรากฏเป็นอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจเต้นแรง มือสั่น ตัวเย็น วิงเวียน คลื่นไส้ หรือเป็นลม โดยสามารถจำแนกได้ 3 อาการหลัก คือ อาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย อาการที่เกิดขึ้นกับการพูด และอาการที่เกิดขึ้นจากท่าทางต่างๆ
ความกลัวการพูดในที่สาธารณะเกิดขึ้นได้กับคนทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะนักศึกษา โดยมีปัจจัยด้านอายุและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนด ผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดมากกว่า ย่อมมีความกังวลน้อยกว่าผู้ที่เก็บตัวมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
แนวทางลดความกลัวการพูดในที่สาธารณะมีหลากหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพูดด้วยระบบ
โทสต์มาสเตอร์ การเตรียมข้อมูลให้พร้อมมากที่สุด ฝึกพูดซ้ำๆ จำเฉพาะส่วนสำคัญ ใช้เทคนิคพิเศษช่วยจำ หายใจเข้าออกเพื่อผ่อนคลาย แต่งกายให้พร้อมเพื่อสร้างความมั่นใจ พักผ่อนให้เพียงพอ วิเคราะห์ผู้ฟัง สร้างความคุ้นเคย ขยับร่างกายบ้าง และให้กำลังใจตนเองเสมอ
This paper presents the undesirable nonverbal language that is expressed when people feel fear of public speaking. This kind of fear may occur in most people when speaking in public, and often found in most people. When people are in the stage of fright, it starts from bashfulness, then anxiety. If these symptoms occur only a bit and can be controlled by speakers, they will deliver a good speech. However the anxiety is severe and becomes fear uncontrollably, the speech will be poorer. Classical conditioning theory assumed that people who got bad experience will feel fear when they confront with the same thing, and show the symptoms: heart thumping rapidly, hand shaking, cool hands, dizziness, nausea, or faint. These symptoms can be grouped into 3 categories: physical, verbal, and nonverbal symptoms.
Fear of public speaking can occur to everyone; especially students. The factors are ages and environments. More experienced people or those who are in the more overt environment, they will obviously feel less anxiety than introverts.
Fear reduction methods can be as follows: practicing with Toastmasters, practicing speech repeatedly, recognizing keywords only, using special techniques to remember, practicing breath properly, wearing suitable dress to improve self-confident, having enough sleep, analyzing and being familiar with the audience, moving the body sometimes, and encouraging oneself.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย และชัยรัตน์ วงศ์จินดานนท์. (2553).High Impact Presentationนำเสนออย่างมีพลังแบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
คาร์เนกี้, เดล. (2539). หยุดวิตกกังวลและอยู่อย่างมีความสุข. แปลจากเรื่อง How to Stop Worrying and Start Living โดย ศิระ โอภาสพงษ์. กรุงเทพฯ: คู่แข่งบุ๊คส์.
จินดา งามสุทธิ. (2549). ศิลปะการพูด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐพงศ์ เกศมาริษ. (2548). เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2554เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา7รอบ5ธันวาคม2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วัลลภ ปิยะมโนธรรม. (2553). เทคนิคการแก้ไขอาการวิตกกังวลกลัวด้วยตัวเอง(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.
วิธัญญา วัณโณ. (2551). โรคกลัว. วารสารมฉก.วิชาการ,12(23), 64-77.
สมิต สัชฌุกร. (2551). การพูดต่อชุมนุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร.
สุธาสินี พ่วงพลับ. (2555). การสื่อสารด้วยอวัจนภาษาในพฤติกรรมโกหก หลอกลวงของมนุษย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์,4(1), 141-151.
ฮอค, เจมส์. (2540). แก้ปัญหาชีวิตด้วยจิตวิทยา. แปลจากเรื่องI Would If I Could And I Can โดย พลวัต. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
Carbonell, D. (2015). Fear of Public Speaking:the Fear that Stalls Careers. Retrieved October 28, 2015, from http://www.anxietycoach.com/fear-of-public-speaking.html
Glossophobia.com. (2015). Do you suffer from Glossophobia?. Retrieved October 28, 2015, from http://www.glossophobia.com/index.html
Health Media Ventures, Inc. (2015).12 Signs You May Have an Anxiety Disorder.Retrieved October 28, 2015, from http://www.health.com/health/gallery/0,,20646990,00.html
McCroskey, J. C. (1970). Measures of Communication-Bound Anxiety. Speech Monographs,37(XXXVII), 276.
Miller, F. E. (2011). No Sweat Public Speaking! How to Develop, Practice and Deliver a Knock Your Socks Off Presentation! With No Sweat!. U.S.A.: Fred Co.
Osório, F. de L., Crippa, J. A. S., Hallak, J. E. C. & Loureiro, S. R. (2014). Social Anxiety Disorder,Fear of Public Speaking,and the Use of Assessment Instruments. Brasil: Ribeirão Preto Medical School, University of São Paulo.
Rodríguez J. O., Rodríguez, JA. P. & Alcázar AI. R. (2006). Sociodemographic and Psychological Features of Social Phobia in Adolescents. Psicothema,18(2), 207-212.
Stoner, M. (2010). ComS 5 The Communication Experience:Personal Report of Public Speaking Anxiety (PRPSA). U.S.A.: California State University, Sacramento.
Toastmasters International. (2016). The Toastmasters Journey.Retrieved February 26, 2016, from https://www.toastmasters.org/About/History
Valkovci, S. (2014).The Detrimental Effects of Glossophobia Among College Students. Retrieved January 1, 2016, from http://rampages.us/valkovcis/research-paper/
Wadsworth. (2015). Personal Report of Public Speaking Anxiety. Retrieved November 1, 2015, from http://www.wadsworth.com/communication_d/templates/studentresources/053455170Xsellnow/psa/mainframe.html
Worthington, E. L., Tipton, R. M., Cromley, J. S., Richards, T. & Janke, R. H. (1984). Speech and Coping Skills Training and Paradox as Treatment for College Students Anxious about Public Speaking. Perceptual and Motor Skills, 59(2), 394-396.
Translated Thai References
Carnegie, D. (1996). How to Stop Worrying and Start Living. Translated by Ophatphong, S. Bangkok: Khukheng Book. [in Thai]
Hoke, J. (1997). I Would If I Could And I Can. Translated by Phonlawat. Bangkok: Sangsan Book. [in Thai]
Ketmarit, N. (2005). How to be Professional in Presentation (2nd ed.). Bangkok: Expertnet. [in Thai]
Ngamsutthi, J. (2006). Art of Speaking (4th ed.). Bangkok: Audience Store. [in Thai]
Niratphatthanasai, K. & Wongjindanon, C. (2010). High Impact Presentation. Bangkok: Thailand Productivity Institute. [in Thai]
Office of the Royal Society. (2013). Thai Language Dictionary: Office of the Royal Society Edition.Bangkok: Office of the Royal Society. [in Thai]
Piyamanotham, W. (2010). Remove the Anxiety and Fear on your Own! (6th ed.). Bangkok: Than Book. [in Thai]
Poungplub, S. (2012). The Communication with Nonverbal Language in Lying-Deceit Behaviors of Human Beings. Panyapiwat Journal, 4(1), 141-151. [in Thai]
Satchukorn, S. (2008). Public Speaking (2nd ed.). Bangkok: Saithan. [in Thai]
Wanno, W. (2008). Phobias. HCU Journal, 12(23), 64-77.