อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านจริยธรรม ความรอบคอบระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และการสอบทานด้วยความสงสัย: หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านจริยธรรมกับความรอบคอบระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และการสอบทานด้วยความสงสัยของผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามทางไปรษณีย์จากผู้ตรวจสอบภายในจำนวน 171 คน และวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อด้านจริยธรรมมีอิทธิพลความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความรอบคอบระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และการสอบทานด้วยความสงสัยของผู้ตรวจสอบภายใน และ 2) ความรอบคอบระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพมีอิทธิพลความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการสอบทานด้วยความสงสัยของผู้ตรวจสอบภายใน ดังนั้น สมาคมผู้ตรวจสอบภายในและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้ตรวจสอบภายในมีความเชื่อด้านจริยธรรมที่เหมาะสม
The objective of this study is to investigate the relationship among Ethical Orientation, Due Professional Care, and Skeptical Review of internal auditors of Thai-listed Companies. The data were collected by mail questionnaire from 171 internal auditors. The data were analyzed by descriptive statistics and structural equation modeling. The results reveal that 1) internal auditors with higher ethical orientation are more likely to possess high due professional care and skeptical review. In addition, 2) internal auditors with high due professional care are more likely to possess high skeptical review. In conclusion, The Institute of Internal Auditors and Thai-listed Companies Association should emphasize on the promotion of an appropriated internal auditors’ ethical orientation.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”