พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลาตามปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการท่องเที่ยว จากกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า
1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 20-30 ปี รองลงมามีอายุระหว่าง 31-40 ปี ประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐ รองลงมาประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 3,001-4,000 ริงกิต รองลงมามีรายได้น้อยกว่า 3,000 ริงกิต มีภูมิลำเนาอยู่ในเมืองกลันตัน รองลงมามีภูมิลำเนาในเมืองเคดาร์ 2) นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักในการเดินทางมาจังหวัดสงขลาเพื่อพักผ่อน รองลงมาเดินทางมาเพื่อประชุม/สัมมนา และเคยเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลามาแล้วจำนวน 7-8 ครั้ง ใช้รถตู้เป็นยานพาหนะในการเดินทางมาท่องเที่ยวโดยเดินทางมาท่องเที่ยวกับบริษัทนำเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ นักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่ใช้เวลาพักแรมในจังหวัดสงขลา 2 คืน มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวแต่ละครั้งเป็นเงิน 2,000-3,000 ริงกิต และนักท่องเที่ยวต้องการให้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลวัน เวลา ในการจัดงานประเพณี หรือเทศกาลต่างๆ ของจังหวัดสงขลาเพิ่มเติม 3) ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลามีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว โดยจำแนกตามพฤติกรรมพบว่า นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันในประเด็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการท่องเที่ยวต่อครั้ง และความต้องการที่จะมาท่องเที่ยวอีกในอนาคต มีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อาชีพ และภูมิลำเนาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลาไม่แตกต่างกัน
The research objectives were: 1) To study the privacy of Malaysian tourists traveling cultural tourism in Songkhla 2) To study the behavior of Malaysian tourists to the cultural tourism in Songkhla 3) to study the level of satisfaction of Malaysian tourists to the cultural tourism in Songkhla 4) To compare the satisfaction levels of Malaysian tourists to the cultural tourism in Songkhla by personal factors, and travel habits. The sample consisted of 400 Malaysian tourists traveling cultural tourism in Songkhla. The research instruments were questionnaires. Statistics for data analyses were frequency, percentage, mean standard deviation, t-test, and F-test. Research findings were as follows:
1) Most visitors are male, aged 20-30 years, followed by 31-40 years, a career as a public servant minor occupational trade / business, The average income per month during the 3001-4000 ringgit minor earning less than 3,000 ringgit, and domiciled in the city Kelantan. 2) Most Malaysian tourists whose main purpose in traveling to Songkhla to rest. Followed by a trip to a conference / seminar, And had been traveling in the Province of 7-8 times, ravel by van is a vehicle to travel by traveling with tour companies, Tourists traveling during the holidays, Saturday – Sunday, spent two nights camping in the Songkhla, with the cost of travel time is money 2,000-3,000 ringgit, and Visitors want dates and times in the festival. Festival of the offense more 3) The satisfaction of tourists were satisfied with the tour as a whole at a high level. However, visitors who travel behavior at different points in the average cost of leisure time. And to come back repeatedly. Satisfaction of cultural tourism in Songkhla province as a whole difference was statistically significant at the 0.05 level. Apart from that Those are personal factors including age career and hometown were satisfied in cultural tourism in Songkhla no different.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Chayki, W. (2013). Satisfaction of foreign tourists who visit the Sukhothai Historical Park. Sukhothai.Master of Science thesis, Srinakharinwirot University. [in Thai].
Gamgate, W. (2008). Research Methodology in Social Sciences (2nd ed.). Bangkok: Printing of Chulalongkorn University. [in Thai].
Ha-numas, S. (2009). The motivation of tourists in Thailand temple Wat Phra Mahathat, case studies and museum district, Nakhon Si Thammarat. Master of Art thesis, Naresuan University. [in Thai]
Kim, C., Galliers, R. D., Shin, N., Han, J. & Kim, J. (2012). Factors influencing internet shopping value and customer repurchase intention. Electronic Commerce. Research and Applications, 11(4), 374-387.
Kotler, P. (2003). Marketing management. New Jersey: Prentice Hall.Ministry of Tourism and Sports. (2016). Statistical information on tourism. Retrieved May 13, 2015, from http://mots.go.th [in Thai]
Pantana, K. et al. (2015). The satisfaction of tourists on Doi Inthanon National Park. Research, Rajamangala University of Technology Lanna. [in Thai].
Royal Academy. (1992). Dictionary of Honor 1987. Bangkok: Aksornjaroentad. [in Thai]
Sa-vangkarn, R. (2008). Factors that decision and the satisfaction of the tourists are. On tour case study of chaiyo temple Ang Thong Province. Research, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.[in Thai]
Thongngam, K. (2010). Satisfaction of foreign visitors to the Sukhothai Historical Park tour. Sukhothai. Master of Science thesis, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Tourism Authority of Thailand. (2016). Pocket Guide Songkhla. Retrieved July 5, 2016, from http://thai.tourismthailand.org [in Thai]
Wade, C. & Tavris, C. (1998). Psychology (5th ed.). New York: Longman.