การกำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ในกำกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี
Keywords:
ยุทธศาสตร์, ศักยภาพ, อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน, strategies, potentiality, civil volunteersAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ในกำกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 11 คน เครื่องมือการวิจัยเป็น แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ในกำกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) จัดระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2) การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานแก่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 3) การเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 4) การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแก่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
Abstract
The objective of this research is to formulate the strategies for enhancing potentiality of civil defense volunteers in the local government Udonthani Province. This is a qualitative research by using the workshop. The key informant was 11 persons who implicated in civil defense volunteers. The research used a workshop evaluation form and analyzed the data by content analysis.
The results of this study revealed that: the strategies for enhancing potentiality of civil defense volunteers in the local government Udonthani Province consisted of four strategies, 1) the supporting operations system for civil defense volunteers, 2) the knowledge dissemination, 3) the supporting operation skill of volunteers, and 4) the incentives for volunteers.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้