การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านโจรก

Authors

  • นวรัตน์ - นิธิชัยอนันต์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
  • นภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

Keywords:

การพัฒนาเครือข่าย, วิสาหกิจชุมชน, development of network system, community enterprise

Abstract

บทคัดย่อ

                 การวิจัยเรื่อง การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของวิสาหกิจชุมชนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาศึกษารูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาและศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชาการวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านโจรก อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ผลการศึกษาพบว่าบริบทของวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านโจรก เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนที่มีพื้นฐานการประกอบอาชีพ ด้านการเกษตร โดยมีผู้นำเป็นแกนนำและหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน เพื่อสร้างรายได้ในลักษณะของผลิตภัณฑ์ชุมชนและเพื่อการพึ่งตนเอง การดำเนินงานของกลุ่มในรูปของคณะกรรมการในการบริหารงานภายใต้การเรียนรู้ด้วยตนเองและยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา และร่วมกันจัดระบบดูแลซึ่งกันและกันมีการแบ่งปันผลประโยชน์จากการดำเนินงานในรูปสวัสดิการแก่สมาชิกและสาธารณะประโยชน์ในชุมชน โดยการมีอุดมการณ์ร่วมกันก่อเกิดประโยชน์และคุณค่าร่วมกันในชุมชน

                รูปแบบเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชนมีลักษณะการเชื่องโยงกับเครือข่ายภายในชุมชนและภายนอกชุมชน ประกอบด้วย เครือข่ายการผลิต เครือข่ายการตลาด เครือข่ายการเรียนรู้ และเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ  ซึ่งเครือข่ายภายในชุมชนเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีความผูกพันและเกื้อกูลกันเป็นฐานในการผลิตและบริการที่สำคัญ และเครือข่ายภายนอก เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายมีลักษณะการแลกเปลี่ยนผลผลิต การเพิ่มช่องทางการตลาด และการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

                แนวทางการพัฒนารูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โดยการพัฒนาความสัมพันธ์ของเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง  โดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับสถาบันการศึกษา วิสาหกิจชุมชนต้นแบบ เอกชนและภาครัฐ  เพื่อให้เกิดพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้มีศักยภาพ รวมทั้งควรมีการสร้างเครือข่ายการตลาด เพื่อขยายช่องทางการตลาดทั้งใน ระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด ระดับภูมิภาค ประเทศ ควบคู่กับการมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจให้ประสบความสำเร็จ

 

Abstract

                The objectives of this study were 1) to study the context of community enterprise of Thailand-Cambodia border. 2) to examine the pattern of community enterprise network of Thailand-Cambodia border. And 3) to study the guidelines for developing the community enterprise of the Thailand-Cambodia border. This research uses qualitative research tools. By studying community enterprise community focusing on rice mill in Baan-Jrok community, Gab-Cherng district Surin province. The results of the study revealed that the mainly overview context of community enterprise was agricultural sector which was supported by the government to generate income from local product for self-reliance. Group operation was run in the from of administrative committee through self-learning good governance and member participation. Beneficial sharing from operation was returned to the members in the form of welfare and public benefit in the community.

                The pattern of community enterprise network connected both within and outside the community which comprise of production network, marketing network, learning network and state agency network. This community network emphasized on relationship creation within and outside community in terms of exchanging products  increasing market channels and knowledge development were the important factors that affected the strength of community enterprise development.

                The guideline for developing community enterprise network through. Development relationship of network strengthening and the learning network creation with academic institute, master community enterprises both governmental and private sector. In order to develop the potential of community enterprises especially market networking for market channels extending in community, district, provincial and country level along with participation development for community enterprise success in the long run.

References

โกสินทร์ ชำนาญพล, วรรณวีร์ บุญคุ้ม, และนรินทร์ สังข์รักษา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายการตลาดวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารราชพฤกษ์, 14(3), 80-86.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร, และอุทิศสังขรัตน์. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พระมหาสมพงษ์ เกศานุช. (2558). ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของการบริหารการจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจอมแจ้งเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
รัชนี รูปหล่อ, ดุษฎี พรหมทัต, และวัลภา ว่องวิทิธกุล. (2556). แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและเจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระณคร ฉบับพิเศษ สาขาบริหารธุรกิจ, (พิเศษ), 158-171.
นรินทร์ สังข์รักษา. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลดีของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ.
สุภาพร มากแจ้ง, และพรศิริ กองนวล. (2550). ศึกษาการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนปากคลองบางปลากกด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, 2(1), 65 -78.
สัจจา บรรจงศิริ, บุญญฤทธิ์ มุ่งจองกลาง, และปาลีรัตน์การดี. (2554). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น10 เมษายน 2559, จาก http://e-jodil.stou.ac.th/ filejodil/1_15_166.pdf.
สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 2(3), 68-85.
สำนักพัฒนาธุรกิจสหกรณ์. (2550). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพปี 2550. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมสหกรณ์.
อิราวัฒน์ ชมระกา, ศรีไพร สกุลพันธ์, และวรรณกนก เขื่อนสุข. (2554). ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายการตลาดวิสาหกิจชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพการแข่งขันเชิงพาณิชย์ ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 3(5), 37-50.

Downloads

Published

2019-02-14

How to Cite

นิธิชัยอนันต์ น. .-., & พัฒนฉัตรชัย น. (2019). การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านโจรก. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 13(46), 101–111. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/105555