ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • อนุลม ตุนาลม สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สมเกียรติ ศรีปัดถา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วิบูล เป็นสุข คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สืบชาติ อันทะไชย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Keywords:

การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก, ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำ, ชลประทานลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว, นครหลวงเวียงจันทน์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, water management for plants, water management strategies, Huai Chon-Huai Chuo irrigation area, Vientiane capital

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) ทดลองใช้และประเมินผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนที่ 1 เจ้าหน้าที่ของโครงการพระราชดำริศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตร ห้วยซอน-ห้วยซั้ว และเกษตรกรหัวหน้าครัวเรือนที่ท้าการเพาะปลูกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยการหา 1) ค่าความถี่ 2) ร้อยละ 3) ค่าเฉลี่ย และ 4) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูก ผู้เชี่ยวชาญด้านการชลประทาน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายชลประทาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายชลประทานของศูนย์ฯ และการวิจัยระยะที่ 3 กลุ่มเป้าหมายเป็นหัวหน้าครัวเรือนที่อยู่ในเขตพื้นที่ชลประทาน นักวิชาการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูก ผู้เชี่ยวชาญด้านการชลประทาน และตัวแทนเกษตรกร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมิน ซึ่งมีประเด็นการพิจารณา 2 ลักษณะ คือ เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสอดคล้องและสามารถน้าไปปฏิบัติได้จริง โดยกำหนดเกณฑ์การยอมรับความเหมาะสมที่มีค่าความถี่ ตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันการจัดการน้ำเพื่อ การเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว ภาพรวม พบว่า สภาพปัจจุบันการจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก แปลผลระดับมาก ได้แก่ ด้านการจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก ด้านข้อมูลการจัดการน้ำ และด้านการบำรุงรักษา ซ่อมแซมระบบชลประทาน

2. ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว มี 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก ยุทธศาสตร์การบำรุงรักษา ซ่อมแซมระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก และยุทธศาสตร์การพัฒนาข้อมูลในการจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก

3. ผลการประเมินความเหมาะสมของยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก ความเหมาะสมในด้าน ความสอดคล้องและสามารถน้าไปสู่การปฏิบัติได้จริง อยู่ในเกณฑ์การยอมรับที่กำหนดไว้ คือ มีค่าความถี่ความเห็นชอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ร้อยละ 100

 

Water management strategies for plants cultivation in Huai Chon-Huai Chuo irrigation area, Vientiane Capital, Lao’s People Democratic Republic

The purposes of this research were 1) to study the present water management for plants cultivation in Huai Chon-Huai Chuo irrigation area, Vientiane Capital, Lao’s People Democratic Republic 2) to formulate management strategies of water for plants cultivation in Huai Chon-Huai Chuo irrigation area, Vientiane Capital, Lao’s People Democratic Republic 3) to test and evaluate the results of water management strategies for plants cultivation in Huai Chon-Huai Chuo irrigation area, Vientiane Capital, Lao’s People Democratic Republic. Method is divided into 3 phases, the first goal in the group stage, the first officer of the Royal Centre for Development and Agricultural Services. Farmers and household heads dominant creek watershed area - Hidden Creek Sagw. Covering nine villages used in this study were analyzed using the program to find 1) frequency 2) percentage 3) mean and 4) the standard deviation. Phase 2, targeting professional cultivation, irrigation experts, director of the Centre for Development and Agricultural Services, deputy director, head of irrigation and staff of the center. Phase 3, target group is headed households in the area of irrigation, agricultural scientists, cultivation experts, irrigation experts and farmer representatives. The instrument used to collect the data was assessment form, covering 2 issues : relevant strategies and tentative implementation with the acceptance criteria of frequency at 75 percent and above.

The results showed that

1. The current state of water management for plants cultivation in Huai Chon-Huai Chuo irrigation area, Vientiane Capital, Lao’s People Democratic Republic was at good level. in water managing for the cultivation, data management and maintenance.

2. There were 3 strategies in water management for plants cultivation in Huai Chon-Huai Chuo irrigation area, Vientiane Capital, Lao’s People Democratic Republic which were strategic management of water for cultivation, maintenance strategy to repair irrigation systems, and development information strategy in the management of water for cultivation.

3. The results of the evaluation of strategic management of water for cultivation implied that the strategies were appropriate and implemented of frequency at 100 percent.

Downloads

How to Cite

ตุนาลม อ., ศรีปัดถา ส., เป็นสุข ว., & อันทะไชย ส. (2017). ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำห้วยซอน-ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11(37), 80–89. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/79430