การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Authors

  • กิตติ ศรีภูมิสุริยกานต์ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
  • สมเกียรติ ศรีปัดถา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ประจญ กิ่งมิ่งแฮ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

Keywords:

การเสริมสร้าง, การมีส่วนร่วม, การป้องกันปัญหายาเสพติด, เทศบาลเมืองบ้านดุง, enhancing, participation, prevention of drug problem, Ban Dung municipality

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติด ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เพื่อหาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ในการป้องกันปัญหายาเสพติดของประชาชนรวมทั้งการประเมินแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมใน การป้องกัน ปัญหายาเสพติด แบ่งการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดของ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านดุง ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) ด้านการมีส่วนร่วมใน ด้านการวางแผน 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติด 4) ด้านการมีส่วนร่วมในด้านการรับผลประโยชน์ และ 5) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดาเนินงาน ประชากรได้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านดุง จำนวน ทั้งสิ้น 16,023 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 391 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการ ป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนใน 5 ด้านดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพ ติดของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านดุง อยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{x} = 3.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการ มีส่วนร่วมในการดาเนินการป้องกัน อยู่ในระดับปานกลาง ( \inline \bar{x} =3.91) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ใน ระดับปานกลาง (\inline \bar{x} = 3.39) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{x} = 3.21) ด้านการมีส่วนร่วมใน การวางแผน อยู่ในระดับปานกลาง ( \inline \bar{x} = 2.98) และ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{x}= 2.76) ระยะที่ 2 กำหนดแนวทางในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขต เทศบาลเมืองบ้านดุง กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 40 คนโดยการประชุม สนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล ได้ แนวทางในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดของประชาชน จำนวน 2 แนวทาง คือ 1) แนว ทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในด้านการวางแผน 2) แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ในด้านการประเมินผลการ ดำเนินงานระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมของแนวทางในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพ ติดของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองบ้านดุง กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อาวุโส ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งได้จากการ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 18 คน ผลการประเมินพบว่ามีความเหมาะสม สอดคล้องทั้งวัตถุประสงค์ กิจกรรม ตัวชี้วัด อยู่ ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีค่าความถี่เท่ากับ 18 (ร้อยละ 100)

 

Enhancing participation in the prevention of drug problems in Ban Dung municipality, Ban Dung district, Udon Thani province

The purpose of this research was to study how to enhance participation in the prevention of drug problems in Ban Dung municipality, Ban Dung district, Udon Thani province. Methods of research is qualitative Research for Development (R for D) to locate guidelines in enhancing participation in the prevention of drug problem of the people, as well as evaluating ways to enhance participation in the prevention of drug problem public in Ban Dung municipality.The research was divided into 3 phases. Phase I : To study the problems of enhancing participation in the prevention of drug problem of the people in 5 aspects: 1) participation in decision-making, 2) participation in the planning, 3) participation in operation, 4) participation in the involvement of beneficiaries and 5) participation in the evaluation . The sampling group was 391 samples, which were the people who live in Ban Dung municipality. The instrument used was a questionnaire asking the prevention of drug problems. The level of participation in the prevention of drug problem of the people in Ban Dung municipality was at moderate level (\inline \bar{x} = 3.21) . In details, the participation in operation was at moderate level (\inline \bar{x} = 3.91). The participation in the involvement of beneficiaries was at moderate level (\inline \bar{x} = 3.39). The participation in decision-making was at moderate level (\inline \bar{x} = 3.21). The participation in the planning was at moderate level (\inline \bar{x} = 2.98). And participation in the evaluation was at moderate level (\inline \bar{x} = 2.76). Phase II : To locate guidelines in enhancing participation in the prevention of drug problem of the people, Ban Dung municipality. The target group was 40 experts. The method used was focus group, data were analyzed to obtain guidelines in enhancing participation in the prevention of drug problem of the people, Ban Dung municipality. which were: 1) The guidelines in enhancing participation in the prevention of drug problem of the people in planning .2) The guidelines in enhancing participation in the prevention of drug problem of the people in evaluation. Phase III : To study the appropriate guidelines in enhancing participation in the prevention of drug problem in Ban Dung municipality. The target group was 18 qualified experts chosen by purposive sampling. The result of the assessment revealed that the suitabilities conform with the objectives and activities. The indicators were of accepted with the frequency of 18 (100%).

Downloads

How to Cite

ศรีภูมิสุริยกานต์ ก., ศรีปัดถา ส., & กิ่งมิ่งแฮ ป. (2017). การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11(37), 100–110. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/79433