ภาคบริการการท่องเที่ยวแรงขับเคลื่อนใหม่ของเศรษฐกิจจังหวัดเลย

Authors

  • นิกร น้อยพรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ณรงค์ กมลชิต สำนักงานคลังจังหวัดเลย

Keywords:

ภาคบริการการท่องเที่ยว, tourism service segment

Abstract

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อนาเสนอมุมมองใน 4 ประเด็น ดังนี้ 1) ความสำคัญของภาคบริการการท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจจังหวัดเลย โดยในตลอดหลายปีที่ผ่านมาภาคบริการการท่องเที่ยวจังหวัดเลยได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้จากการท่องเที่ยวในช่วงปี 2554-2557 มีรายได้เฉลี่ยในแต่ละปีประมาณ 2,210 ล้านบาท มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยปีละ 11.2% ซึ่งเมื่อพิจารณาสัดส่วนของรายได้จากการท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ในช่วงเดียวกัน มีสัดส่วนเฉลี่ย 5.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด 2) บทบาทของภาคบริการการท่องเที่ยวต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจังหวัดเลย พบว่า ภาคบริการการท่องเที่ยวของจังหวัดเลยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยผลักดันให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคบริการการท่องเที่ยวและเกิดการจ้างงานในสาขาต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวน 1 ล้านบาท จะก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นในจังหวัดเลยเท่ากับ 1.0403 ล้านบาท หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเลย 2,783.3 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน รวมทั้งสิ้น 26,044 คน โดยการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทุกๆ 102,728 บาท จะก่อให้เกิดการจ้างงาน 1 คน 3) การประเมินความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย การท่องเที่ยวของจังหวัดเลยยังสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากจังหวัดเลยมีความโดดเด่นในแหล่งท่องเที่ยวด้านทรัพยากรธรรมชาติรวมไปถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยวจากภาครัฐภายใต้โครงการ "12 เมืองต้องห้าม...พลาด" 4) ทิศทางนโยบายของภาคบริการการท่องเที่ยวของจังหวัดเลยในระยะต่อไป จังหวัดเลยควรมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดทั้งทางบกและทางอากาศ รวมไปถึงควรมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆ และแหล่งสนับสนุนการท่องเที่ยวให้มีมากขึ้น รวมกับการดูแลและฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งที่เสื่อมโทรมให้กลับมาอยู่ในสภาพดี รวมไปถึงพยายามใช้ประโยชน์จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในช่วงที่ไทยก้าวเข้าสู่ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2559 เพื่อขยายตลาดการท่องเที่ยวให้กว้างมากขึ้น

 

Tourism services segment: The recent economics propulsion of Loei province

This article is proposed in 4 aspects as follows; 1) The importance of tourism service segment influenced on economic system in Loei province. In recent years, tourism service segment in Loei has expanded constantly. The average tourism income during 2554-2557 B.E. is 2,210 million baht per year. The average growth rate per year is 11.2% by considering from the portion of tourism income from gross province product. During 2554-2557 B.E., at the same time, the proportion is at 5.4% of the gross province product. 2) It is found that tourism in Loei plays the vital role in economic expansion in latest year. The tourist’s expense can be able to run up the income for the relevant entrepreneurs and rise up job hiring in the concerning field of jobs in the supply chain. From the tourist’s expense of both Thai and foreigners, the amount of one million Bath can bring about the income in Loei province at 1.0403 million Bath or value of the gross province products in Loei at 2,783.3 million Baht and make the job for 26,044 people. Tourist’s expense at every 2783.3 million Bath makes the job for one person. 3) The assessment ability in the tourism competition of Loei province. The tourism of Loei can be at the level of the competition because Loei province has outstanding natural, cultural, and historical tourism resources. Moreover, government supported Loei tourism under campaign “12 Cities….You Can’t Say No” 4) the policy methods of tourism service segment in Loei in the next steps. Loei province should focus on development of the basic structure in term of the transportation by plane and cars; and tourist attraction should be developed in a new form and tourism auxiliary service and restore the natural resource; especially, to recover the deteriorated area. Moreover, trying to make use from the AEC (ASEAN Economic Community: AEC) to expand the tourism should be encouraged.

Downloads

How to Cite

น้อยพรม น., & กมลชิต ณ. (2016). ภาคบริการการท่องเที่ยวแรงขับเคลื่อนใหม่ของเศรษฐกิจจังหวัดเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11(36), 1–11. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/79442