การศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ชุมชนท้องถิ่นสู่การเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Authors

  • ไทยโรจน์ พวงมณี สาขาวิชาทัศนศิลป์ ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

อัตลักษณ์, พื้นที่ทางการท่องเที่ยว, ศิลปะและวัฒนธรรม, อำเภอเชียงคาน, identities, tourism site, arts and culture, Chiang Khan sub-district

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการปรับเปลี่ยนพื้นที่สู่การเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม 3) เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่การท่องเที่ยว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา กลุ่มประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน นักวัฒนธรรม นักวิชาการท้องถิ่น พระ ตัวแทนชาวบ้าน ผู้ประกอบการ จำนวน 75 คน ใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม การประชุมเป็นเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า

1. อำเภอเชียงคานเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของล้านช้าง มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและกระแสของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

2. กระบวนการปรับเปลี่ยนพื้นที่สู่การเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรมเกิดจากกระแสของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและท้องถิ่นที่เชื่อว่า จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับแหล่งท่องเที่ยว มีการดำเนินการเป็นขั้นตอน โดยคนในชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานภายนอกที่เข้ามามีบทบาทของการเป็นผู้นำและการหนุนเสริมดังนี้ 1) การเตรียมชุมชนและการสำรวจพื้นที่ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างความตระหนักและการเห็นคุณค่าในศิลปะและวัฒนธรรม ต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) การปฏิบัติการพัฒนา การส่งเสริมและการสร้าง อัตลักษณ์เฉพาะของศิลปะและวัฒนธรรม คน พื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยว และ 4) การประเมินผล

3. อัตลักษณ์ของพื้นที่ทางศิลปะและวัฒนธรรมเชียงคาน คือ การมีประวัติศาสตร์เฉพาะของชุมชน ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ความโบราณของเรือนชายโขง ความเรียบง่ายและความงดงามของวิถีชีวิตและพิธีกรรมที่สัมพันธ์กับศาสนาและความเชื่อ

 

A study process of identities in local change into arts and culture tourism site, Chiang Khan sub-district, Loei province

The purposes of this study were to 1) study the contexts of Arts and cultural tourism 2) analyze the procedures of transforming the area into Arts and cultural tourism. and 3) analyze the identity of the area into cultural tourism of Chiang Khan sub-district, Loei Province for the management of sustainable tourism. This study was a qualitative research. The total number of sampling populations was 75 including the local leaders, philosophers, culturists, cultural academic, monks, representative of local people and entrepreneurs. The instruments used in this study consisted of related documents, interviews, observation and group discussion. The data obtained from group discussion were analyzed and presented descriptively. The results revealed that

1. Chiang Khan sub-district is the cultural area in which it associates with Lan Chang history and culture. The changes made in Chiang Khan were influenced by the society, politics and ecotourism.

2. The procedures of transforming the area into cultural tourism were derived from the belief of local villagers that they were able to manage the tourism everlastingly. The procedures were run by local people with the help from the government sector as follow 1) surveyed the area 2) created learning activities to make people aware of the value of culture and art by focusing the cooperation from the village 3) promoted and created the identity of the art and culture of villagers and any activities involving tourism and 4) the evaluation.

3. The identity of art and culture is to have the history especially for the village, cultural landscape, the antique of houses along Khong river, the simplicity, the beauty of way of life and the ceremony relating to Buddhism and beliefs.

Downloads