แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพงานหัตถกรรมมุกประดับ : กรณีศึกษาบ้านหนองลาด หมู่ที่ 4 ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Authors

  • ชุตินธร บำรุงภักดี สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

กลุ่มอาชีพ, แนวทางการพัฒนา, มุกประดับ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, occupational group, guidelines for the development, pearl decorated, carft, local wisdom

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงาน และการบริหารจัดการของกลุ่มอาชีพมุกประดับชุมชนบ้านหนองลาด 2) วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในการดำเนินงาน และ 3) การหาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพมุกประดับชุมชนบ้านหนองลาด หมู่ที่ 4 ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกกลุ่มอาชีพมุกประดับชุมชนบ้านหนองลาด จำนวน 6 คน กลุ่มบุคคลที่รับผลิตภัณฑ์มุกประดับไปจำหน่าย จำนวน 5 คน และตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ จำนวน 4 คน ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นักพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ การใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย จากผู้ให้ข้อมูลทั้งสามกลุ่ม แล้วนามาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic induction) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อหาข้อสรุป

ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาในการการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพงานหัตถกรรมมุกประดับชุมชนบ้านหนองลาด ขาดการมีหลักการบริหารจัดการที่ดี การบริหารไม่มีการยึดหลักของกฎระเบียบ มีการบริหารงานไม่โปร่งใส สมาชิกกลุ่มส่วนมากไม่ให้ความในการเข้าร่วมประชุมประจาเดือนของกลุ่ม สมาชิกกลุ่มขาดการมีส่วนร่วมในการระดมทุน และเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มมีน้อย ผลิตภัณฑ์ไม่มีรูปแบบที่แปลกใหม่ ขาดการออกแบบของผลิตภัณฑ์ ไม่สามารถทาการผลิตให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันหากมีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมากๆ ตลาดในการรองรับผลิตภัณฑ์มีน้อย 2) มีสาเหตุของปัญหามากจากสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในการรวมเป็นกลุ่ม ทาให้ไม่สนใจหรือไม่ตั้งใจในการรับฟัง ในการรับรู้หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่ม ขาดการประสานงาน ขาดการระดมทุนภายในกลุ่ม ไม่มีการเขียนแผนการใช้เงิน ไม่มีการสารองวัตถุดิบไว้ใช้ในเวลาที่มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เข้ามาทีละมากๆ ไม่มีการวางแผนการตลาดก่อนการดำเนินการ ไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ตามสื่อต่างๆ ทำให้บุคคลทั่วไปไม่ทราบแหล่งจัดจำหน่าย ขาดการสร้างเครือข่ายการค้ากับกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน 3) แนวทางในการพัฒนากลุ่มอาชีพควรที่จะมีการยึดหลักตามกฎระเบียบของกลุ่มอย่างเคร่งครัด ควรจัดให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อที่เป็นมาตรฐาน หรือการจัดทำบัญชีเบื้องต้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่สมาชิกในกลุ่มเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ควรมีการหาตลาดมารองรับในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มากขึ้น และจัดหาแหล่งเงินทุนโดยการขอสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

Guidelines for the development of pearl decorated carft occupational group, Ban Nonglad, moo 4, Thonnalab sub-district, Ban dung district, Udornthani province

The purposes of this research were 1) to study the cooperating condition and the management of pearl decorated craft occupational group of Ban Nonglad Village, 2) to analyze the causes of the problem, and 3) to find the way to improve the development of pearl decorated craft occupational group, Ban Nonglad Moo 4, Thonnalab Sub-district, Bandung District, Udonthani Province. The target groups were 6 members from pearl decorated craft occupational group of Ban Nonglad Village, 5 people who bought the pearl products for selling, and 4 people from Thonnalab Sub-district Administrative Organization who were Chief Executive of Thonnalab Sub-district Administrative Organization, Chief Administrator of Thonnalab Sub-district Administrative Organization, Community Developer, and Policy and Plan Analyzed officer. The tool of the study was in-depth interviews and semi-group conversation. All information given from the three groups was analyzed and concluded.

The results of the study were 1) the operation of pearl decorated craft occupational group of Ban Nonglad Village was inefficient and was not based on the rule and transparency. Most of the members did not pay their attention in participation of monthly meeting in their group; The group members lacked of the participation in gathering fund and the circular fund was not enough, the products was out of date in appearance and design, and the producing was not in time and matched with the demand of the customers when they ordered in the large amount ; 2) there were not enough markets for the products, so they wanted any support from other organizations such as Thonnalab Sub-district Administrative Organization, Bandung District Community Developing Office, Udonthani Province Administrative Organization and others so far ; 3) guidelines for the development for the occupational group should be strict with the rule of the group, there should set some trainings for the members with the product design, standard packaging, or accounting management in order to improve their knowledge and they could adapt with their products; and more markets for the products and some fund resources should be provided by the support of the state agency and others.

Downloads