การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับครูมัธยมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) จังหวัดเพชรบูรณ์

Authors

  • อานนท์ หินแก้ว สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สพลณภัทร ทองสอน ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ ประจาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิชิต สุรัตน์เรืองชัย ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ ประจาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, การสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ, ครูมัธยมศึกษา, the development of training curriculum, integrated learning unit construction, secondary education Teachers

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับครูมัธยม ศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร และ 3) การทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ครูมัธยมศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) จังหวัดเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2556 รวม 30 คน ฝึกอบรมเป็นครูต้นแบบการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ จำนวน 10 คน และครูเครือข่ายครูต้นแบบ ฯ จำนวน 20 คน โดยเลือกจากอาสาสมัครเข้ารับการฝึกอบรม (Volunteer Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เอกสารหลักสูตร แผนการฝึกอบรม แบบทดสอบวัดสมรรถภาพการบูรณาการด้านความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้และการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ แบบประเมินสมรรถภาพการบูรณาการด้านเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้และการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ แบบประเมินสมรรถภาพการบูรณาการด้านทักษะการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้และการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ แบบประเมินการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ และแบบประเมินความเหมาะสมการใช้หลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานคือ ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าความ เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการ เป้าหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม ระยะเวลาการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม ประเมินประสิทธิผลหลักสูตร และแผนการฝึกอบรม ผลประเมินความเหมาะสมการใช้หลักสูตรของผู้เข้ารับการฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ ผลคะแนนทดสอบวัดสมรรถภาพการบูรณาการด้านความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้และการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพการบูรณาการด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านเจตคติ และด้านทักษะการปฏิบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลังฝึกอบรม สูงกว่าเกณฑ์ และผลประเมินการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลังฝึกอบรม อยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าเกณฑ์

 

The development of training curriculum on integrated learning unit construction for secondary education teachers Tesabal 3 (Chanwittaya) school Phetchabun province: case study

The purpose of this research was to develop a training curriculum on integrated learning unit construction for secondary education teachers Tesabal 3 (Chanwittaya) school Phetchabun province: case study with three steps in the process; 1) to study and analyze of the fundamental data, 2) to design and develop the curriculum, and 3) to try out and evaluate the effectiveness of the curriculum. The sample 30 of secondary education teachers Tesabal 3 (Chanwittaya) school Phetchabun province in year 2013 were derived by volunteer sampling. 10 of them were trained to be the master teachers on integrated learning unit construction and 20 to be network of the master teachers. The research tools for data collection were the curriculum documents, the training plans, the integrated competency tests of the knowledge and the understanding for the management in learning and integrated learning unit construction, the integrated competency form to evaluated the attitudes to the management in learning and integrated learning unit construction, the integrated competency form to evaluated the performance skills for the management in learning and integrated learning unit construction, the evaluation form on integrated learning unit construction, and the evaluation form to check suitability of curriculum implementation. The statistics to analyze data were mean, standard deviation, and t-test for dependent samples.

The findings revealed as follows; the quality of developed curriculum was highly suitable and having correspondence among curriculum component; the problem and the necessity, the principles, the curriculum goals, the curriculum aims, the curriculum contents, the training activities, the training times, the training medias, to evaluated the effectiveness of the curriculum, and the training plans. The results showed that of the curriculum to use appropriately for the evaluation of the trainees was highly and higher than the criteria. The results showed that scores for the integrated competency of the knowledge and the understanding for the management in learning and integrated learning unit construction of the trainees after training were higher than before training at the .01 level of statistical significance. The results showed that mean in comparison with integrated competency of the knowledge and the understanding, the attitudes, and the performance skills of the trainees after the training were higher than the criteria. The results of the evaluation on integrated learning unit construction of the trainees after training were highest and higher than the criteria.

Downloads

How to Cite

หินแก้ว อ., ทองสอน ส., & สุรัตน์เรืองชัย ว. (2015). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับครูมัธยมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) จังหวัดเพชรบูรณ์. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 10(31), 74–85. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/80150