การพัฒนาหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเพชรบูรณ์ที่เสริมสร้างการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเพชรบูรณ์ที่เสริมสร้างการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเพชรบูรณ์วิทยา จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย คือ หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ของชาวเพชรบูรณ์ที่เสริมสร้างการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร ฯ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การรักษาประเพณีวัฒนธรรมไทย จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.33 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.30 - 0.94 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติทดสอบที
(t – test Independent)
ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฯ มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.64 และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.37 หลักสูตรฯ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความสำคัญของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3) โครงสร้างหลักสูตร มีทั้งหมด 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ ประวัติศาสตร์ของเพชรบูรณ์ วิถีชีวิตของชาวเพชรบูรณ์ ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ตำนานและเรื่องเล่า เหตุการณ์สำคัญและบุคคลสำคัญ 4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 5) การประเมินผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเพชรบูรณ์ที่เสริมสร้างการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย พบว่า คะแนนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้หลักสูตร ฯ สูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้หลักสูตร ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ณัฐิยา ศิริสวัสดิ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องศิลปกรรมวัฒนธรรมประเพณีบ้านท่าแร่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(3), 110-120.
ภคมน รัตนากรานต์ และเกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์. (2564).
การพัฒนาหลักสูตรการพูดสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 8(1), 132-140.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.nesdc.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=6422.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 จากhttps://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlan Oct2018.pdf.
สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์. (2553). ประวัติเมืองเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18พฤศจิกายน 2563 จาก http://www.phetchabun .go.th/data_detail.php?content_id=70.
สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
อำนาจ จันทร์แป้น. (2542). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.