การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ วิชาเคมี เรื่อง เซลล์ไฟฟ้าเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ไฟฟ้าเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชัน ให้มีความเข้าใจมโนมติอยู่ในระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 จำนวน 35 คน โรงเรียนวาปีปทุม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่เลือกโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชัน จำนวน 7 แผน 2) แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์แบบปรนัย 4 ตัวเลือก พร้อมการอธิบายเหตุผลเพิ่มเติม จำนวน 14 ข้อ 3) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้ข้อมูลจากแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์นักเรียนในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 37.14 วงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ผ่านเกณฑ์ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 68.57 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ หรือความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ผ่านเกณฑ์ จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 91.43
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ณัฏฐ์นภันต์ กตัญรัตน์. (2558). การศึกษามโนมติทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ MIS เรื่อง ไฟฟ้าเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 82-92.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปิยะมาศ บุญประกอบ. (2554). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชันที่มีต่อมโนทัศน์เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ และความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สนทยา บ้งพรม และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2558). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคการทำนาย-สังเกต-อธิบาย ในขั้นขยายความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (น. 411-420). รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการระดับชาติ ม.อบ. วิจัย. ครั้งที่ 9. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Alrwaythi, E. M., & Sciences, S. (2012). A Developed Teaching Model for Metacognitive Thinking: Developed Metacognitive Learning Cycle. 637–647.
Bilbokaite, R. (2009). Visualization in Science Education: The Results of Pilot Research in Grade 10. Problem of Education in 21st Century. 16, 23-29.
Blank, Lisa M. (2000). A Metacognitive Learning Cycle: A Better Warranty for Student Understanding. Science Education, 84(4):486–506.
Bruner, J. S., Goodnow J. J. and Austin G. A. (1957). A study of Thinking. New York: John, Wiley and Sons, Inc.
Dewey, J. (1993). How We Think: A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educative Process. Boston: D. C. Heath.
Eggen, P. and Kauchak D. (2001). Educational Psychology Windows on Classrooms. 5th ed. Columbus: Prentice-Hall.
Gregoire, M. (2003). Is it a challenge or a threat? A Dual-Process model of teacher's cognition and appraisal processes during conceptual change. Educational Psychology Review, 15(2): 147-179.
Kemmis, S. & McTaggart R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed). Victoria: Deakin University.
Kural, M., & Kocakülah, S. M. (2016). Teaching for Hot Conceptual Change: Towards a New Model, Beyond the Cold and Warm Ones. European Journal of Education Studies, 2(8), 1-40.
Osborne, R. and Freyberg, P. (1988). Children's science. In R. Osborne & P. Freyberg (Eds). Learning in Science. Auckland, New Zealand: Heinemann.
Posner, G.J., Strike, K.A., Hewson, P.W. and Gerzog, W. A. (1982). Accommodatation of Scientific Conception: Toward a Theory of Conceptual Change. New York.
Strike, K. A.,& Posner, G. J. (1985). A conceptual change view of learning and understanding. In L. West & L. Pines (Eds.), Cognitive structure and conceptual change. Orlando, FL: Academic Press.
Vasilyev, V. (2010). Towards interactive 3D graphics in chemistry publication. Theor Chem Acc, 125(3), 173-176.
Westbrook S.L. & Marek E.A. (1992). A Cross-Age Study of Student Understanding of the Concept of Diffusion. Journal of Research in Science Teaching, 29(1):51–61.