กระบวนการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 (หลักสูตร 4 ปี) สาขาพลศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการปฏิบัติการสอน 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพลศึกษาที่มีต่อการประเมินการปฏิบัติการสอน และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางกระบวนการปฏิบัติ การสอนในสถานศึกษา 1 (หลักสูตร 4 ปี) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ ประชากรทั้งหมดเป็นนักศึกษาพลศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ภาคปลาย ปีการศึกษาที่ 2563 จำนวน 118 คน และผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยง รวมจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาพลศึกษาที่มีต่อกระบวนการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาพลศึกษาที่มีต่อการประเมินการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นแนวทางกระบวนการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร นำเสนอในรูปแบบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของนักศึกษา พลศึกษาที่มีต่อกระบวนการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ =3.84, σ = 0.37) 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาพลศึกษาที่มีต่อการประเมินการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ =4.83, σ = 0.73)
จากการศึกษาผู้วิจัยจึงได้แนวทางกระบวนการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาคือ ด้านคุณลักษณะความเป็นครู ว่าด้วยนักศึกษาควรมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นคุณลักษณะมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2562) ด้านงานในหน้าที่ผู้ช่วยครู ว่าด้วยนักศึกษาศึกษารายละเอียด และปฏิบัติตามแผน/ปฏิทินในคู่มือปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา และด้านกิจกรรม ว่าด้วยนักศึกษามีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ แก่นักเรียน และกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
มาตรฐานการศึกษาชาติ. (พ.ศ. 2561). ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562).ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์หรือสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563). มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 2563. คู่มือการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 (หลักสูตร 4 ปี) สาขาพลศึกษา ปีการศึกษา 2563.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2558). แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน :องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีทางสถิติสำหรับการวิจัย 2. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สุวิริยสาสน์.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2558). ประมวลบทความพลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารย์ พาณิช, (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพครู พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ.