ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์จำนวน 63 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) F – test (ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีคุณลักษณะของบุคลากรโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า บุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ ที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นรายด้าน ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน แตกต่างกัน โดยสรุป คุณลักษณะของบุคลากร ด้านสมรรถนะของบุคคล มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้านนโยบายการบริหารงาน ดังนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการของผู้บริหารที่ถ่ายทอดสู่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ส่งผล
ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการของผู้บริหารที่ถ่ายทอดสู่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2564) ข้อมูลบุคลากร.สืบค้นจาก https://pd.msu.ac.th.
คมกริช เสาวิจิตร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา : พระนครศรีอยุธยา.
ชาริณี จนัทร์แสงศรี. (2559).ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของพนักงานควบคุม จราจรทาง อากาศ ของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ปกภณ จันทศาสตร์. (2557) ปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล ปัจจัย ด้านลักษณะงานและแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กร ของพนักงานเอกชนระดับปฏิบัติการ ในเขตลาดพร้าว-จตุจักร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ : กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยมาหาสารคาม. (2564) ข้อมูลมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นจาก http://www. msu.ac.th.
มลฑา พิทักษ์. (2560). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสังกัด สำนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
เยาวรัชย์ พรประสิทธิ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา สำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้. วารสารการจัดการสมัยใหม่. ฉบับเดือนมกราคม- มิถุนายน 2557.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิจิตร หัตกร.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา,จังหวัดชลบุรี.
วรัญญา ผลดี. (2560) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสายวิชาการและพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยแม่ ฟ้าหลวง .(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, จังหวัดเชียงราย.
ศกุลวัฒน์ นิธิกลุธนาโรจน์. (2552). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน บริษัท อินเดโลร์ เลนส์ (ไทยแลนด์) จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชัฏพระนคร, กรุงเทพมหานคร.
ศตวรรษ กล่ำาดิษฐ์. (2560).สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า กรณีศึกษาบริษัท สายไฟฟ้าไทย-ยาซากิ จำกัด.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ : กรุงเทพฯ.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.อัครเดช ไม้จันทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : สงขลา.
Plowman, Grosvenor E & Peterson,E (1989). Business Organization and Management. Illinois : Irwin.