การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ ฟ้อนเสน่ห์สาวเมืองพลตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ฟ้อนเสน่ห์สาวเมืองพล ตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) ตามเกณฑ์ (80/80) 2) ศึกษาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ฟ้อนเสน่ห์สาวเมืองพลของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติกลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 46 คน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ตำบลลอมคอม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบประเมินทักษะปฏิบัติและแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ฟ้อนเสน่ห์สาวเมืองพลมีประสิทธิภาพ (E1 / E2) มีค่าเท่ากับ 90.82 / 94.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) 2)ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ฟ้อนเสน่ห์สาวเมืองพลอยู่ในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 94.15 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ฟ้อนเสน่ห์สาวเมืองพลโดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.16)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
กาญจนา อินทรสุนานนท์ และ รุจี ศรีสมบัติ. (2546). รำวงมาตรฐาน. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสิรฐ์. (2552). ศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน.มหาสารคาม :ฝ่ายวิชาการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.
ธัญญารัตน์ ทับทัน. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์เบื้องต้นและภาษาท่า ตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพฯ: สุรียาสาส์น.ตักศิลาการพิมพ์.
ราณี ชัยสงคราม. (2544). นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม. (2562). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเมืองพลพิทยาคม.ขอนแก่น:โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม.
วรายุทธ มะปะทัง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.
สมนึก ภัททิยธนี. (2556). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
อินทิรา ดีแป้น. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ การฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงามตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่.