การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกดด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ชฎาภรณ์ หาญปรี
ภูษิต บุญทองเถิง
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียน    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าร้อยละ และการทดสอบสมมุติฐาน t-test  


            ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น คิดเป็นร้อยละ 90.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผน    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา ชังยืนยง. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้บันไดทักษะ 4 ขั้นร่วมกับแอปพลืเคชัน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(1), 73-81.

จันทร์เพ็ญ ภูโสภา. (2563). จิตวิทยาสำหรับครู. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนาภรณ์ แสงชื่น (2562) การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำโดยใช้บันไดทักษะ 4 ขั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนำเสนอผลการวิจัยของครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระยะการเข้าสู่วิชาชีพ (Induction Period) รุ่นปี พ.ศ. 2560 (น. 215-222). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การพัฒนาการสอน, กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

พัทธนันท์ พาป้อ. (2562). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(1), 23-34.

พิมพ์ชญา ธนาพรพงศ์สถิต. (2563). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 95-106.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2563). เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แก้ง่ายนิดเดียว (พิมพ์ครั้งที่ 16). นนทบุรี: เฟิร์สออฟเสท 1993.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 2563). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2563.มหาสารคาม: โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธานี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำลี รักสุทธี. (2557). สอนอย่างไรให้เด็กอ่านออก อ่านได้ อ่านคล่อง อ่านเป็น เขียนได้ เขียนคล่องและเขียนเป็น, กรุงเทพฯ: พ.ศ. พัฒนา.