การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คำคล้องจองโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

อดิสรณ์ โมรี
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง
ภูษิต บุญทองเถิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำคล้องจอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรื่อง คำคล้องจอง โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/7 จำนวน 31 คน โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมุติฐาน t-test (Dependent Samples)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำคล้องจอง โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.16/71.94 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คำคล้องจอง โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ                       เรื่อง คำคล้องจอง มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 2.78, S.D. = 0.08 )

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดสาระแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤตยากาญจน์ อินทร์พิทักษ์. (2563). การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนคำภาษาไทย นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14(4),96.

ภณิตา พงศ์วัชร์. (2560). ผลของการจัดกิจกรรมการอ่านโดยใช้แนวคิดสมองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา(OJED). 12(4), 798-799.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการ ประเมินคุณภาพผู้เรียนปีการศึกษา 2563.สืบค้น 4 สิงหาคม 2564. จาก www.niets.or.th

สถาบันส่งเสริมอัจฉริยะภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้. (2550). เอกสารประกอบการอบรมครูBBLระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุพัตรา ดวงแก้วกลาง. (2557). การศึกษาผลประเมินการคิดวิเคราะห์ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน(BBL) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.วารสารบัณฑิตวิจัย. 5(1), 52.

สุรัตน์ คำหอมรื่น. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,Silpakorn University. 9(2),1317.

เอมฤดี สมัครลาน. (2560). การพัฒนากลวิธีการสอน ภาษาไทยตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการ อ่านและการเขียนคำ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.23(1), 306.