การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ เรื่อง คำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เบญจมินทร์ คนไว
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง
ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะด้านการเขียนสะกดคำ เรื่อง คำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ เรื่อง คำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวนนักเรียน 34 คน โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะ ด้านการเขียนสะกดคำ เรื่อง คำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบฝึกทักษะประกอบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ เรื่อง คำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะ ด้านการเขียนสะกดคำ เรื่อง               คำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.31/87.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้               2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะ มีความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ เรื่อง             คำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=2.71, S.D.=0.06

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตยากาญจน์ อินทร์พิทักษ์. (2562). การพัฒนาความสามารถ การอ่านและการเขียนคำภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(4), 96.

กิตติยา คำจันทร์. (2564). การสร้างแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองกก จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 9(1), 76-85.

กุสุมา คำผาง. (2559). ผลของการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนในระดับประถมศึกษา.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(3), 326-342.

จินต์กวี แสงอรุณ. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัด การเรียนรู้สมองเป็นฐาน (BBL) ประกอบแบบฝึกทักษะ. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงาน วิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม 2560.

โฉมยงค์ มิมาชา. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ทักษะการอ่านและเขียนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 9(1), 9-16.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาสน.

พรพิไล เลิศวิชา. (2558). คู่มือการอบรมศึกษานิเทศก์และแกนนำพลิกโฉมโรงเรียนด้วยแนวคิด BBL (BBL Smart Trainers). เชียงใหม่: สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

พัชราภรณ์ นามทอง. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม 2561.

โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม. (2563). แบบสรุปรายงานผลการทดสอบของโรงเรียน. มหาสารคาม: โรงเรียนหลักเมือง มหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.).

Wimer. (2008). Engaged Learning Through the Use of Brain-based Teaching: A Case Study of Eight Middle School Classrooms. Dissertation Abstracts International, 68(07), 279