การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

พิไลวรรณ มาตเลิง
ธัชชัย จิตรนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 205 คน ซึ่งใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด 2)แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI Modified )


            ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ และ 5) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นที่สุด คือ ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการจัด การเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร ด้านการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียน


การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามลำดับ 3. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมินโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยาภรณ์ ตู้คำมูล. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 309-322.

จีระ งอกศิลป์. (2550). คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดที่3. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ชัยนาจ พลอยบุตร. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้าง สมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(พิเศษ), 309-322.

ทัศณรงค์ จารุเมธีชน. (2559).การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(1), 95-113.

ธีระวุฒิ บุณยโสภณ. (2555). ปัญหาขาดแคลนครูวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยทางเทคโนโลยีอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นภาพร จ่าเมืองฮาม. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 345-359.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560).

ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก.

วิภาดา ศรีจอมขวัญ. (2556). รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(3), 68-81.

สมภพ สุวรรณรัฐ และสุวรรณี จริยะพร. (2558). การส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะครูอาชีวศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1), 213-223.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ.(2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency-Based Learning. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ศิริวัฒนา.

แสงเพ็ชร แสงจันทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงราย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 130-142.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายก รัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด และวิธีการ (พิมพ์ครั้งที่ 2.) กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125. ตอน 43ก. หน้า 3.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 44 ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.