การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการยอมรับคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสนใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง และแบบสอบถามการยอมรับคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างยอมรับคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง ตามแนวทางการยอมรับเทคโนโลยีแบบ TAM โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.74, S.D.=0.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความง่ายต่อการใช้งาน (Perceived ease of use) ของคู่มืออยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D.=0.52) และการรับรู้ถึงประโยชน์ (Perceived Usefulness) ของคู่มืออยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.78, S.D.=0.41)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ธีระ กุลสวัสดิ์. (2557). การยอมรับอีเลิร์นนิ่งของนิสิตระดับปริญญาตรี
ในมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 308-320.
วรปภา อารีราษฎร์ ธรัช อารีราษฎร์ และพลวัฒน์ อัฐนาค. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(1), มกราคม- มิถุนายน 2559.
วรปภา อารีราษฎร์. (2562). นวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,205 หน้า.
วีระศักดิ์ ปัตตาลาโพธิ์. (2558). การศึกษาการยอมรับรูปแบบการเตรียมความพร้อมสถานศึกษาเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต, ในการประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (น. 65-71)
สมฤทธิ์ ขจรโมทย์. (2559). การบริหารจัดการการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เอก กนกพิชญ์กุล. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับผู้เรียนระดับ ประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Davis, F. D. (1985). A Technology Acceptance Model for Empirically Testing New End-User Information Systems. [Doctoral dissertation].
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly. 13(3), 319-340. doi:10.2307/249008