การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการ์ดเกม (Card Game) รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังก้านเหลืองดรุณกิจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการ์ดเกม (Card Game) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังก้านเหลืองดรุณกิจ โดยมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 2 จำนวน 17 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีการดำเนินการเป็น 3 วงจร เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม การจัดการเรียนรู้ของครู แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร แบบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการ์ดเกม (Card Game) พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 27.35 คิดเป็นร้อยละ 75.98 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 76.47 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 13101 สังคมศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการ์ดเกม (Card Game) พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 21.88 คิดเป็นร้อยละ 72.75 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 82.35 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษมะณี ลาปะ. (2559). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบ การสอนแบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับผังกราฟฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17, 725-735.
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564 จากhttp://www.nesdb.go.th/ewt_dI_Iink.php?nid =6422
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ถนัดกิจ บุตรวงค์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(80), มกราคม-มีนาคม 2564.
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนวังก้านเหลืองดรุณกิจ. (2562). รายงานการเรียนการสอนปีการศึกษา 2562. ชัยภูมิ: โรงเรียน วังก้านเหลืองดรุณกิจ. ฝ่ายวิชาการโรงเรียนวังก้านเหลือง ดรุณกิจ. (2563). รายงานการเรียนการสอนปีการศึกษา 2563. ชัยภูมิ: โรงเรียนวังก้านเหลืองดรุณกิจ.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2556). แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 Changing Education Paradigms. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก http://www.jsfuturelassroom.com/news_detail.php?nid=208
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานCreativity Based Learning (CBL). กรุงเทพฯ: วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุชาติ แสนพิช และคณะ. (2560). การพัฒนาการ์ดเกมมวยไทย เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(1), เดือนมกราคม-เมษายน 2560 สืบค้นวันที่ 26 มีนาคม 2564 จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/89253/70231
อุมาภรณ์ บุญกระจ่าง. (2564). การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับ Bar Model เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(82), กรกฎาคม-กันยายน 2564.