การศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมโนทัศน์ (Concept Attainment Model) ร่วมกับเทคนิคการคิดเป็นภาพ (Visual Thinking) รายวิชา ส15101 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกะพี้

Main Article Content

จักริน เบี้ยวจันทร์
มณฑา ชุ่มสุคนธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา ส 15101 สังคมศึกษา ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมโนทัศน์ (Concept Attainment Model) ร่วมกับเทคนิคการคิดเป็นภาพ (Visual Thinking) โดยนักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา ส 15101 สังคมศึกษา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบมโนทัศน์ (Concept Attainment Model) โดยนักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกะพี้ จำนวน 9 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Research Design) แบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียน (One Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมโนทัศน์ (Concept Attainment Model) ร่วมกับเทคนิคการคิดเป็นภาพ (Visual Thinking) 2) แบบทดสอบการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 8 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 คะแนนเฉลี่ย 65.44 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.8 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 7 คน คิดเป็นร้อยละ 77.77 มีคะแนนเฉลี่ย 21.11 คิดเป็นร้อยละ 70.36 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 ขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล โพธิเย็น. (2558). ผลของการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพครูตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อจริยธรรมในวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1), 49-64.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

โกศล มีคุณ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดจิตลักษณะด้านความมีเหตุมีผลแบบพหุมิติ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

คัตสึมิ นิชิมุระ. (2550). คิดด้วยภาพ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2557). มโนทัศน์. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2565, จาก https://d.dailynews. co.th/article/224383/

ชวิทธิ์ เทศดี. (2557). ผลการใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ในการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องเซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษา ปีที่ 4 (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) ชลบุรี:สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชอง จินโฮ. (2560). ฝึกสมองลองจดบันทึกเป็นภาพ. (อภิศรี นิรุตติปัญญากุล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: พราว.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2520). จริยธรรมของเยาวชนไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรมสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน).

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2551). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

ธนัณชัย สิงห์มาตย์. (2554). การคิดเชิงมโนทัศน์. ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565, จาก https://www. gotoknow.org/ posts/500907

ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2551). เอกสารคําสอน วิชา 241307 กระบวนการจัดการเรียนรู้. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

นาจนารี นพเก้า. (2561). การพัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ตามแนวทางทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ เรื่อง โจทย์ปัญหาระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) ชลบุรี: สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิพพิทา กุลชิต. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อให้เกิดมโนมติของบรูเนอร กับการสอนตามปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) ขอนแก่น: สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นีออน พิณประดิษฐ์ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพหุปัญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2550). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูพิศาลจริยากร เลขธมฺโม และสุชน ประวัติดี. (2562). จริยธรรม: ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(2), 131-145.

พระครูใบฎีกาสุบิน โสภโณ, นาวิน พรมใจสา และศิวาพร วังสมบัติ. (2560). แนวทางการขับเคลื่อนคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(2), 73-88.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางจริยธรรมกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต. (2559). Visual Thinking. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2565, จาก https://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/what-is-visual-thinking/

ไพศาล หวังพานิช. (2546). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิชัย เอกพลากร. [ม.ป.ป.]. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ฉบับสุขภาพเด็ก พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วีรพร สีสถาน. (2557). การพัฒนาแบบวัดจิตอาสาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(4), 268-280.

สมพงษ์ จิตระดับ และอัญญมณี บุญซื่อ. (2551). หลักสูตรสิทธิเด็กและการวางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). การคิดเป็นภาพ เทคนิคสื่อสารสู่ความสำเร็จ. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2565, จาก https://www.thaihealth.or.th/ Content/32294

อินสครู ไทยแลนด์. (2561). Visual Thinking นั้นดียังไง?? สนุกถูกใจเด็กไทยแน่นอน!!. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2565, จาก https://medium.com/inskru/inskru-visual-thinking-101-9aecc0630c30

Carroll, A.B. (1993). Business and Society: Ethics and Stakeholder Management. 2nd ed. Ohio: South-Western, Cincinnati.

Lamm, H.A. (1993). Comparison of two teaching strategies on post-secondary development a mathematics student. Retrieved June 10, 2021, fromhttp:// proquest. umi.com/pqdweb?index=7&did=747668501&SrchMode=1&sid=4&Fm=2&Vlnst=PROD&VType=PQD&RQT=309&VName=PQD&TS=1180413523&clientld=12345

Nazimuddin, K. (2015). Effect of Advance Organizer Model (AOM) on Pupil’s Academic Achievement in Geography-A Study. [n.p.].

Smith, P and Ragan, T. (2005). Instructional design. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Sreelekha, S. and Ajitha, N. (2004). The effectiveness of concept attainment model (cam in learning chemistry at secondary level. Retrieved June 10, 2021,from http://ncert.in/sites/publiccation/j3sch_sc_ 4Htm